กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี หนูน้อยวัยใสเพื่อสุขภาพ (ภายใต้กิจกรรมสารพัดเมนูไข่วัยคิดส์ (Kids)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

1. นางสาวพนิดา ยาประจัน
2. นางสุพิศ คงนวลใย
3. นางอามีเน๊าะ อีซอ
4. นางสาวนาอีหม๊ะ วาเต๊ะ
5. นางสาวมารียา วาแมดีซา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าบอนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจะรังตาดง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวันที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ด้วยเหตุนี้ทางกองศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจึงมุ่งเน้นและตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็กในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบการอาหาร ให้มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กที่เหมาะสมภาวะทุพโภชนาการ และเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีตอลดจนการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการดี หนูน้อยวัยใสเพื่อสุขภาพ (ภายใต้กิจกรรมสารพัดเมนูไข่วัยคิดส์ (Kids)ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหาร มีความรู้เรื่องโภชนาการเด็กเพื่อให้เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหาร มีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก

ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารอย่างน้อยร้อยละ 75 มีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก

140.00 90.00
2 2. เพื่อให้เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย

เด็กร้อยละ 75 มีภาวะโชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัยและถูกหลักอนามัย

140.00 90.00
3 3. เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

เด็กร้อยละ 75 ลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

140.00 90.00
4 4. เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 สามารถประกอบการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

140.00 100.00

1. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหาร มีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก
2. เพื่อให้เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ที่ดี ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย
3. เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
4. เพื่อให้ผู้ปกครอง สามารถประกอบการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/06/2025

กำหนดเสร็จ 01/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดประชุมบุคลากรกองการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดประชุมบุคลากรกองการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชี้แจงและร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ ดังนี้
  1. ชี้แจงเกี่ยวกับกำหนดการจัดอบรมให้ความรู้
  2. ชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณของโครงการ
  3. ชี้แจงเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ
  4. ติดตามภาวะโภชนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2568 ถึง 26 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็ก ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็ก ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหาร ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กทั้ง 2 แห่ง จำนวน รวม 140 คน จัดกิจกรรม 2 วัน ๆ ละ 70 คน
1.การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารเกี่ยวกับโภชนาการเด็กที่เหมาะสม จำนวน 1 ชั่วโมง
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 1 ชั่โมง

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 70 คน จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท
  3. ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม 60 บาท จำนวน 70 คน จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 * 2.4 m จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 864 บาทเป็นเงิน 1,728 บาท
  5. ค่าวัสดุเครื่องเขียนแฟ้มเอกสาร จำนวน 140 ชุดๆละ 20 บาทเป็นเงิน 2,800 บาท
    กำหนดการกิจกรรม
    08.00 -08.30 น. ลงทะเบียน
    08.30 - 09.00 น. ประธานพิธีกล่าวเปิดโครงการ
    09.00 - 10.00 น. การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการเด็กที่เหมาะสม
    10.00 - 11.00 น. ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
    11.00 - 12.00 น. เริ่มกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสารพัดเมนูไข่
    12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 - 14.30 น. ถาม/ตอบ สรุปแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน และจัดทำแบบประเมินผลการดำเนินโครงการ

หมายเหตุ *** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2568 ถึง 1 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20028.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสารพัดเมนูไข่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสารพัดเมนูไข่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดบอร์ดเพื่อให้ความรู้เข้าใจเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่เพื่อสุขภาพ กิจกรรมสารพัดเมนูไข่ ค่าใช้จ่าย
ค่าวัสดุจัดทำสื่ออาหารหลัก 5 หมู่ จำนวน 2 ศูนย์ ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,000 บาท

ค่าวัตถุดิบ
1. ไข่ไก่ จำนวน 4 แผง ๆ ละ 155 บาท เป็นเงิน 620 บาท
2. น้ำมันพืช จำนวน 4 ขวด ๆ ละ 66 บาท เป็นเงิน 264 บาท
3.มะเขือเทศ จำนวน 2 กิโล ๆละ 45 บาท เป็นเงิน 90 บาท
4. หอมใหญ่ จำนวน 2 กิโลๆละ 55 บาทเป็นเงิน 110 บาท
5. ขึ้นฉาย จำนวน1 กิโล ๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 45 บาท
6. แครอท จำนวน 2 กิโล ๆละ 29 บาท เป็นเงิน 58 บาท
7. ผักชี จำนวน 1 กิโล 45 บาทเป็นเงิน 45 บาท
8. ต้นหอม จำนวน 1 กิโลๆละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท
9. ไก่สับ จำนวน 2 กิโลๆละ 145 บาท เป็นเงิน 290บาท
10.กุ้งสด จำนวน 2 กิโลๆละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
11. วุ้นเส้นจำนวน 4 ถุงๆ 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
12. ปูอัด จำนวน 4 ถุงๆละ 39 บาท เป็นเงิน 156 บาท
13. น้ำปลา จำนวน 2 ขวดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
14. ซอสหอยฯ จำนวน 2 ขวดๆละ 50 บาทเป็นเงิน 100 บาท
15. ซอสฝาเขียว จำนวน 2 ขวดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท
16. น้ำตาลทราย จำนวน 2 กิโลๆละ 35 บาท เป็นเงิน 70 บาท
17. มะนาว จำนวน 2 กิโลๆละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิน 2,498บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1.กะละมังสแตนเลสจำนวน 4 ใบ ๆละ 99 บาท เป็นเงิน 396 บาท
2.ทัพพีจำนวน 2 ใบ ๆละ 59 บาท เป็นเงิน 118 บาท
3.กระบวยจำนวน 2 อัน ๆ ละ 59 บาทเป็นเงิน 118 บาท 4.จานเซรามิคจำนวน 2 โหล ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 600 บาท
5.แม่พิมพ์ไข่ตุ๋นจำนวน 20 ชิ้น ๆละ 29 บาทเป็นเงิน 580 บาท
6.ถาดสแตนเลสจำนวน 6 ใบ ๆ ละ 129 บาท เป็นเงิน 774 บาท
7.ตะหลิวจำนวน 2 อัน ๆละ110 บาท เป็นเงิน 220 บาท
8. ตะกร้อตีไข่จำนวน 2 อัน ๆ ละ 79 บาทเป็นเงิน 158 บาท
9. ช้อนจำนวน 2 โหล ๆละ 45 บาทเป็นเงิน 90 บาท
10.ผ้ากันเปื้อนจำนวน 4 ผืน ๆ ละ 59 บาทเป็นเงิน 236 บาท
11.กระทะไฟฟ้าพร้อมที่นึ่ง จำนวน 4 เครื่อง * 835 บาทเป็นเงิน 3,340 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิน 6,630 บาท
กิจกรรมที่ 3 สารพัดเมนูไข่ เมนูที่ 1 เมนูยำไข่ดาว
เมนูที่ 2 เมนูไข่เจียวทรงเครื่อง เมนูที่ 3 เมนูไข่ตุ๋น

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2568 ถึง 26 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10128.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,156.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและผู้ประกอบการอาหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการเด็ก
2. เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ดีปลอดภัยคุณหลักอนามัย
3. เด็กลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
4. ผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ


>