2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในสังคมปัจจุบัน วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทย เข้าสู่สภาวะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอยู่ การดำเนินชีวิตประจำวันถูกครอบงำด้วยวิถีสังคมแบบโลกตะวันตก และสังคมเมือง พฤติการณ์การบริโภคอาหารสำเร็จรูป อาหารจำพวกแป้ง และอาหารขยะที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามกระแสนิยมและสื่อโฆษณาต่าง ๆ การผลิตอาหารของผู้ประกอบการที่มีการแข่งขัน ทำให้ต้องใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ เข้ามาเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเร่งผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคจนขาดการตระหนักถึงสารเคมีตกค้างที่อาจสะสมในร่างกายและเผชิญโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะโรค NCDs จากพฤติกรรมดังกล่าวของประชาชนพบว่าประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาโรคติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ ขาดการใส่ใจดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมบริโภคไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย เกิดจากความเครียดไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมหาทางออกโดยการกินอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทำให้มีภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน เป็นสาเหตุหลักของโรคที่เกิดจากการดำเนินวิถีชีวิต หากไม่หยุดยั้งปัญหาได้จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการและเสียชีวิตมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล
การออกกำลังกาย คือกิจกรรมทางกายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่นทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า มลพิษทางอากาศและสารพิษในอาหาร มีส่วนบั่นทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย รวมถึงการตระหนักในโภชนาการด้านอาหาร จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆด้วยคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้เล็งเห็นว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญ และยังตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ “รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง” อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบแอโรบิค ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดอัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนอีกด้วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้และทักษะการปฏิบัติมาใช้ในการออกกำลังกายได้
2. ทุกกลุ่มวัยเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในชุมชนได้
3. ทุกคนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และมีสุขภาพที่ดี