กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โภชนาการน่ารู้ สู่สุขภาพดี ห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนบ้านนาข่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

โรงเรียบ้านนาข่า

1.นางสาวนริณี หมาดเหยด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาข่า
2.นางปัญญดา หวาสกุล ครูโรงเรียนบ้านนาข่า
3.นางสาริศาสุวรรณะผล ครูโรงเรียนบ้านนาข่า
4.นางสุดาแคยิหวา ครูโรงเรียนบ้านนาข่า
5.นางสาวชนากานต์ ตาเหยบ ครูโรงเรียนบ้านนาข่า

โรงเรียนบ้านนาข่า ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการที่ดีในทุกกลุ่มวัยเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชีวิต ทั้งนี้เด็กวัยเรียน เป็นช่วงที่มีความสำคัญอีกช่วงหนึ่ง เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพทั้งด้านสมองและร่างกาย แต่หากปล่อยให้เด็กขาดสารอาหาร จะส่งผลให้การเจริญเติบโตไม่ดี สติปัญญาและการเรียนต่ำรวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรค เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นนาน ส่งผลให้การศึกษามีประสิทธิภาพต่ำรวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการโรคเรื้อรัง และถ่ายทอดการขาดสารอาหารไปยังรุ่นลูกสู่รุ่นหลาน เป็นวงจรเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ดังนั้น โรงเรียนบ้านนาข่า ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนจึงได้ทำโครงการโภชนาการน่ารู้ สู้สุขภาพดีห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ ขึ้นเพื่อให้นักเรียนดูแลสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง ตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ/ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของนักเรียนลดลง

นักเรียนที่มีภาวะใกล้เคียงทุพโภชนาการ/ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ลดลง ร้อยละ 30

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวัง และติดตามภาวะโภชนาการในนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

นักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมภาวะทุพโภชนาการ/น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมภาวะทุพโภชนาการ/น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 65 คน เป็นเงิน 3,250 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิล โครงการ โภชนาการน่ารู้ สู่สุขภาพดีห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนบ้านนาข่า(ขนาด 1.2 ม.x2.78 ม.) จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  4. ค่าถ่ายเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 65 ชุดๆ 20 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
  5. ไวนิลภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 2 ป้ายๆละ 225 บาท เป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output)

  • นักเรียน โรงเรียนบ้านนาข่า จำนวน 65 คน เข้าร่วมโครงการโภชนาการน่ารู้ สู่สุขภาพดีห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ ผลลัพท์ (outcome)

  • นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพและโภชนาการ ภาวะทุพโภชนาการ

  • นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดี ภวะทุพโภชนาการลดลง

  • นักเรียนมีการเฝ้าระวัง ลดความเสี่ยงมีผลต่อภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 7-12 ปี ครั้งที่ 1ไตรมาสที่ 3 (เมษายน - มิถุนายน )

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 7-12 ปี ครั้งที่ 1ไตรมาสที่ 3 (เมษายน - มิถุนายน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองขั้นพื้นฐาน (ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง)

  1. ที่วัดส่วนสูงชนิดมีฐาน ชนิดไม้ จำนวน 2 ชุด ๆละ 1,850 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท

  2. เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆละ 1,100 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 7-12 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 7-12 ปี ครั้งที่ 2ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม -กันยายน)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 7-12 ปี ครั้งที่ 2ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม -กันยายน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองขั้นพื้นฐาน (ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 7-12 ปี ๆด้รับการติดตามภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
2. ภาวะทุพโภชนาการ/ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของนักเรียนลดลง
3. มีการเฝ้าระวัง และติดตามภาวะโภชนาการในนักเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ


>