กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

พื้นที่ตำบลยะหา 4 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

77.61
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

96.61
3 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

77.05

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบันข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้
ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว เห็นความสำคัญของการที่ต้องจัดอบรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ได้รับการบริการการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ทารกแรกคลอดน้ำหนักตามเกณฑ์หญิงตั้งครรภ์สามารถปฎิบัติตนได้ถูกต้องให้ดีมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพและครบตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพและฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

60.00 1.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

60.00 1.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2ปี

หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองหลังคลอดได้ และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี

60.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ     1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็ก โดยการทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ ภาพพลิก เป็นต้น 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฐาน ประกอบด้วย   ฐานที่ 1 ความรู้เรื่องความสำคัญของการฝากครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และการป้องกันภาวะการคลอดก่อนกำหนด   ฐานที่ 2 ความรู้เรื่องภาวะซีด การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก สมุนไพร/อาหารบำรุงธาตุเหล็ก สาธิตท่าการให้นมบุตร วิธีการเก็บน้ำนม และสมุนไพร/อาหารบำรุงน้ำนม 3.เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ติดตามการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและเยี่ยมมารดาทารกหลังคลอดในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2ปี

งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลากอ จำนวน 24,300 บาท (สองหมื่นสี่พันสามร้อยบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้     1. จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฐาน         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บาท60คน2 มื้อ          เป็นเงิน 3,000  บาท         - ค่าอาหารกลางวัน 50บาท60คน1มื้อ              เป็นเงิน 3,000  บาท     2. ค่าวัสดุป้ายไวนิล ชื่อโครงการ 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท    เป็นเงิน 800    บาท     3. ค่าอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่หญิงตั้งครรภ์ (นมแอนมัมรสจืด ขนาด 180 มล.)    ลังละ 695 บาท * จำนวน 20 ลัง ( 1 ลัง จำนวน 12 แพ็ค )                    เป็นเงิน 13,900 บาท         4. ค่าวิทยากร 6 ชมๆ ละ 300 บาท * 2 คน              เป็นเงิน 3,600  บาท                                 รวมเงินทั้งสิ้น    เป็นเงิน  24,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. หญิงตั้งครรภ์ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพและฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์     2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง 3. หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองหลังคลอดได้ และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. หญิงตั้งครรภ์ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพและฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
3. หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองหลังคลอดได้ และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี


>