กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สู่ชุมชนสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 (ในเขตเทศบาล) ตำบลโคกสัก

1. นางสาวสายใจ ทองชั่ง
2. นางสาวสุวรรณา หนูสุ้น
3. นางสาววิไล ปานหวาน
4. นายห่วง สังคง
5. นางสารีย์ พรเศรษฐกุล

เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนครัวเรือน

 

1,939.00

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตวื กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคหลอดเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น พื้นที่ในตำบลโคกสักประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วย ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการปลูกพืชผักผลไม้เพื่อจำหน่าย จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ปีงบประมาณ 2566 ได้มีการทดสอบเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกร พบว่าผู้ที่ผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมากถึงร้อยละ 80 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลโคกสัก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัยสู่ชุมชนสุขภาพดี ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง

100.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • นัด วัน เวลา สถานที่ ผู้เข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการเตรียมกลุ่มเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ค้นหากลุ่มเสี่ยง และไม่ปลอดภัยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในประชาชนและเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ โดยการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเสี่ยง และไม่ปลอดภัยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในประชาชนและเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ โดยการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ากระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ100 แผ่น ราคากล่องละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • เข็มเจาะปลายนิ้ว 1 กล่อง ๆ ละ 200 ชิ้น ราคากล่องละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • capillary tube 2 กล่อง ๆ ละ 100 tube ราคากล่องละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 100 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการตรวจสารเคมีตกค้างด้วยกระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรสนประชาชนและเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 3 แปลผลการตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
แปลผลการตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กำหนดนัดหมาย แปลผลการคัดกรอง
  • กลุ่มปกติให้ความรู้เพิ่มเติม
  • กลุ่มปกตินัดรับยาและตรวจคัดกรองซ้ำ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับเปี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,050.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมรตกค้างในกระแสเลือด
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง
- กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไใ่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


>