โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สู่ชุมชนสุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สู่ชุมชนสุขภาพดี |
รหัสโครงการ | 2568 - L3331 - 02 - 06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 (ในเขตเทศบาล) ตำบลโคกสัก |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 กรกฎาคม 2568 |
งบประมาณ | 6,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสายใจ ทองชั่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ | 3,975.00 | ||
2 | จำนวนครัวเรือน | 1,939.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตวื กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคหลอดเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น พื้นที่ในตำบลโคกสักประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วย ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการปลูกพืชผักผลไม้เพื่อจำหน่าย จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ปีงบประมาณ 2566 ได้มีการทดสอบเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกร พบว่าผู้ที่ผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมากถึงร้อยละ 80 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลโคกสัก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัยสู่ชุมชนสุขภาพดี ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด |
100.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง |
100.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | เตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ค้นหากลุ่มเสี่ยง และไม่ปลอดภัยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในประชาชนและเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ โดยการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง | 0 | 6,050.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 | แปลผลการตรวจคัดกรอง | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 6,050.00 | 0 | 0.00 |
- ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมรตกค้างในกระแสเลือด
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีและการป้องกันที่ถูกต้อง
- กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไใ่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.