2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็ง และมากเป็นอันดับสองในผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก รายใหม่ประมาณ 10,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 27 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 5,200 คนต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการคัดกรอง และตรวจหาเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้วิธี HPV Self Sampling คือวิธีการตรวจหาการติดเชื้อ Human Papillomavirus (HPV) ที่ทำด้วยตัวเอง และสามารถเก็บตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูกได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หรือในสถานที่ ที่สะดวกสบาย และเหมาะสม
จากการดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของรพ.สต.เขาขาว ปีงบประมาณ 2565 ในหญิงอายุ 30- 60 ปี จำนวนทั้งหมด 1,185 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 237 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 % ไม่พบความผิดปกติ ปีงบประมาณ 2566 เป็นการตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV DNA Test ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 329 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.76 % ผลการตรวจพบความผิดปกติ สายพันธุ์ 16 หรือ 18 จำนวน 8 ราย ปีงบประมาณ 2567 เป็นการตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV Self Sampling ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 150 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.20 % ผลการตรวจพบความผิดปกติ สายพันธุ์ 16 หรือ 18จำนวน 2 ราย พบเชื้อ HPV ในกลุ่ม HR ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ชนิด 16 หรือ 18 จำนวน 6 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2568 ทางรพ.สต.เขาขาว มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรอง ในหญิงอายุ 30-60 ที่ยังไม่ได้คัดกรอง ด้วยวิธี HPV Self Samping หรือยังไม่ได้รับการตรวจในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจำนวน 469 ราย ผลงาน 20 % จำนวน 100 ราย ซึ่งเป้าหมายในการตรวจ 5 ปี ให้ได้อย่างน้อย 80 % คือ 948 ราย (ผลดำเนินงานสะสม 3 ปี จำนวน 716 ราย) และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการตรวจคัดกรองค้นหาโรคในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ด้วยวิธี HPV Self Sampling เพื่อเป็นทางเลือก ให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงการตรวจคัดกรองได้ง่าย และสะดวก สามารถเพิ่มอัตราการคัดกรอง ตามที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการหญิงเขาขาวปลอดภัย ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2568เพื่อส่งเสริมให้หญิงอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น สามารถลดอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ และสามารถรักษาให้หายได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. หญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self Samping ร้อยละ 20
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และผ่านการประเมินทักษะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV Self Samping จากบุคลากรสาธารณสุข ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 100
3. ส่งต่อรายที่ผิดปกติเพื่อรับการรักษาตามมาตรฐาน ร้อยละ 100