2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งภาวะคลอดก่อนกำหนดส่งผลทำให้ทารกมีโอกาสที่จะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพมากกว่าทารกคลอดครบกำหนด ยิ่งคลอดก่อนกำาหนดมากเท่าใด โอกาสที่จะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจะมากขึ้นเท่านั้น สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีปัจจัยชักนำบางอย่างที่อาจจะเป็นสาเหตุของการเจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน
ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ต่อมา, มารดามีโรคที่รุนแรง,
การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องคลอด, มดลูกขยายตัวมากเกินไป เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ มีเนื้องอกที่มดลูก, มารดามีปัญหาที่ปากมดลูก เช่น ปากมดลูกหลวม มีประวัติเคยถ่างขยายและขูดมดลูก หรือทำแท้งในไตรมาสที่สองหรือผ่าตัดปากมดลูก, มีพยาธิสภาพที่รก เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การติดสารเสพติด เช่น การสูบบุหรี่ มารดาวัยรุ่น มารดาอายุมากกว่า 40 ปี ทุพโภชนาการ โลหิตจาง เศรษฐานะทางสังคมต่ำมีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอด ก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้า เป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ
ด้วยเหตุนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งครรภ์การฝากครรภ์ และมีการไปฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
3. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลตัวเองได้ในขณะตั้งครรภ์
4. หญิงวัยเจริญพันธ์และประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมาฝากครรภ์