กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรักษ์สุขภาพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สุขภาพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงอยู่ที่กระบวนการจัดและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและ




เยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ๒ จังหวัดยะลา ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการรักษ์สุขภาพขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้นักเรียนได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจ เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ และการออกกำลังด้วยกีฬาประเภทต่างๆที่ส่งเสริมด้านสุขภาพตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้ไปใช้ในชีวิติประจำวันได้
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา ได้จัดการศึกษาในลักษณะเป็นศูนย์ฟื้นฟูช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อมแก่เด็กที่มีความบกพร่องทั้ง ๙ ประเภทจะแบ่งนักเรียนแต่ละประเภทความบกพร่องและมีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะแก่นักเรียนเนื่องจากเด็กที่มีความพกพร่องส่วนหนึ่งมีสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นศูนย์ฯ เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยเพื่อให้เด็กได้รู้จักดูแลตนเองและสร้างสุขนิสัยที่ดีเป็นกิจวัตรประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน,นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการสติปัญญา,นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพและการเคลื่อนไหว และนักเรียนออทิสติ มีความเข้าใจในการปฏิบัติตนได้ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย

1 ร้อยละ 95  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการสติปัญญา, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพและการเคลื่อนไหว,นักเรียนออทิสติก มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์มีและรู้จักรักษาความสะอาดของตนเอง

1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน,นักเรียนมีความบกพร่องทางการเห็น, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการสติปัญญา,นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพและการเคลื่อนไหว และบุคคลออทิสติก ผู้ปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพนักเรียน

2 ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีความบกพร่องทางการเห็น,นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการสติปัญญา, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพและการเคลื่อนไหว,นักเรียนออทิสติก ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพนักเรียน

1.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ครูและบุคลาการในศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา สามารถนำความรู้ไปส่งเสริมการเรียนการสอนในเรื่องสุขภาพนักเรียน

3 ร้อยละ 95  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ2. อบรมให้ความรู้การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก - กิจกรรมสาธิตการแปรงฟัน - กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ2. อบรมให้ความรู้การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก - กิจกรรมสาธิตการแปรงฟัน - กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้านหมายจำนวนผู้เข้าอบรม       นักเรียน    จำนวน    100   คน       ครูและบุคลาการ จำนวน 70  คน
-  ค่าอาหาร จำนวน 70 × 60 = 4,200 บาท -  ค่าอาหารว่าง จำนวนมื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน  2 มื้อ 170 คน = 8,500 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  2 คนๆละ 3  ชั่วโมงๆละ  600  บาท     จำนวน 3,600 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด กว้าง 400 ซ.ม. สูง 1.5 ซ.ม. จำนวน 1  ป้าย จำนวน 1,200  บาท ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม 3 กิจกรรมดังนี้
. 1. อบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น      ชุดปฐมพยาบาล PKF- 700 ประกอบด้วย       - อุปกรณ์ทำแผล สำลี แอลกอฮอล์ 70 ทิงเจอร์ใส่แผล เทบใสใช้แต่งแผล
         ผ้าก๊อต        - พลาสอร์ยาชนิดโปร่งใสและยืดได้        - แอโมเนีย        - ผ้ายืดพัดเคล็ด        - พลาสเตอร์แก้ปวดกล้ามเนื้อ        - ปากคีบปลาทู หมายเหต  ขนาด  21 × 143 CM จำนวน 1 ชุด ราคา 1,100 บาท   2. อบรมให้ความรู้การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก      - ชุดการแปรงฟัน จำนวน 100× 60 =6,000  บาท         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  24,600 บาท (สองหมื่นสี่พันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน,บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น, บุคคลที่มีความบกพร่องทางการสติปัญญา, บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพและการเคลื่อนไหว,บุคคลออทิสติก มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์และสามารถดูแลตนเองได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียน และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีบริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีความสามัคคีเป็นหมู่คณะ


>