2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขตลอดมา เพราะเป็นโรคติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและสูญเสียด้านเศรษฐกิจรายได้ของครอบครัว ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาที่ยังคุกคามชีวิตประชาชนมาโดยตลอด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังมีอยู่คือ การที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกสำหรับพื้นที่เขต 12 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 30 ตุลาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง Digital 506 กรมควบคุมโรค) พบผู้ป่วย 11,643 ราย อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกอัตราป่วย 243.31ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 8 ราย (จังหวัดยะลา 3 ราย,สงขลา 2 ราย,ปัตตานี 2 ราย,และพัทลุง 2 ราย) คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.067 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดพัทลุง 357.45 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานี 285.64 ต่อแสนประชากร จังหวัดสงขลา267.50 ต่อแสนประชากร
ในจังหวัดปัตตานีพบผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงอายุ 10-14 ปี อัตราป่วยร้อยละ 756.05 ต่อแสนประชากร รองลงมาอายุ 5-9 ปี อัตราป่วยร้อยละ 646.83 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วยมากที่สุดที่สายบุรี อัตราป่วย 507.54 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 404 ราย รองลงมาอำเภอยะหริ่ง อัตราป่วย 445.05 ต่อแสะประชากร ผู้ป่วย 364 ราย อำเภอปะนาเระ อัตราป่วย 409.11 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยอำเภอยะรัง อัตราป่วย 336.08 ต่อแสนประชากร รองลงมาอำเภอโคกโพธิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 335.13 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด(50/แสนประชากร)
และในตำบลทุ่งพลาในปี 2567 เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 23 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 735.76 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด (50/แสนประชากร) และในการควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกครั้ง ก็ต้องใช้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก และเครื่องมืออุปกรณ์ในการลงควบคุมโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ต่อไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลทุ่งพลาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันถ่วงทีที่เกิดโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.อสม. แกนนำชุมชนและประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2.ลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก