กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งพลา ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L2979-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 36,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมพร ตันธิวุฒ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขตลอดมา เพราะเป็นโรคติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและสูญเสียด้านเศรษฐกิจรายได้ของครอบครัว ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาที่ยังคุกคามชีวิตประชาชนมาโดยตลอด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังมีอยู่คือ การที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออกสำหรับพื้นที่เขต 12 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 30 ตุลาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง Digital 506 กรมควบคุมโรค) พบผู้ป่วย 11,643 ราย อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกอัตราป่วย 243.31ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 8 ราย (จังหวัดยะลา 3 ราย,สงขลา 2 ราย,ปัตตานี 2 ราย,และพัทลุง 2 ราย) คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.067 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดพัทลุง 357.45 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานี 285.64 ต่อแสนประชากร จังหวัดสงขลา267.50 ต่อแสนประชากร ในจังหวัดปัตตานีพบผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงอายุ 10-14 ปี อัตราป่วยร้อยละ 756.05 ต่อแสนประชากร รองลงมาอายุ 5-9 ปี อัตราป่วยร้อยละ 646.83 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วยมากที่สุดที่สายบุรี อัตราป่วย 507.54 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 404 ราย รองลงมาอำเภอยะหริ่ง อัตราป่วย 445.05 ต่อแสะประชากร ผู้ป่วย 364 ราย อำเภอปะนาเระ อัตราป่วย 409.11 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยอำเภอยะรัง อัตราป่วย 336.08 ต่อแสนประชากร รองลงมาอำเภอโคกโพธิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 335.13 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด(50/แสนประชากร) และในตำบลทุ่งพลาในปี 2567 เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 23 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 735.76 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด (50/แสนประชากร) และในการควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกครั้ง ก็ต้องใช้ทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก และเครื่องมืออุปกรณ์ในการลงควบคุมโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ต่อไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลทุ่งพลาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันถ่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม. แกนนำชุมชน มีส่วนร่วมในการทำลายลูกน้ำยุงลายในชุมชน

จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคติดต่อในชุมชนลดลง (เป้าหมาย ร้อยละ 80)

0.00 80.00
2 เพื่อเน้นให้ชุมชน โรงเรียน ตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

อัตราการพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI และ CI = 0

0.00 100.00
3 เพื่อให้ อสม.แกนนำชุมชน และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

อสม. แกนนำชุมชนและประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,690.00 0 0.00
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมทักษะและให้ความรู้แก่ อสม.แกนนำและทีมควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยวิทยากร 0 24,220.00 -
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ออกติดตามสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดย อสม.และแกนนำชุมชน แบบไขว้หมู่บ้าน 0 5,250.00 -
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 7,220.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม. แกนนำชุมชนและประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2.ลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้ 3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 00:00 น.