กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำตำบลจวบสุขภาพดี ร่วมสร้างวิถีชุมชนลดโรคNCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวน การเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่การเกิดโรค ถ้าหากไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ส่วนสำคัญในการจัดการปัญหาสุขภาพดังกล่าว คือ การพัฒนาคุณภาพบริการของสถานบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการ ปัญหาจากโรคไม่ติดต่อ และสนับสนุนให้เครือข่ายสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่ม ป่วยโรคไม่ติดต่ออำเภอเจาะไอร้องสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบแนวโน้มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ปี 2563-2567พบ 310, 362, 279, 323 ราย และ 291 ราย ตามลำดับ และ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ตั้งแต่ ปี 2563-2567 พบ 121 ราย ,161 ราย ,144 ราย , 152 และ155 ราย ตามลำดับ (ข้อมูล HDC จังหวัดนราธิวาส)
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง มีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งเดิมเริ่มคัดกรองในกลุ่มประชาชน 35 ปีขึ้นไป แต่ด้วยสถานการณ์แนวโน้มปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเริ่มมีในกลุ่มอายุที่น้อยลง จึงเริ่มดำเนินการคัดกรองในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการคืนข้อมูลการคัดกรอง และติดตามการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย แต่ผลการดำเนินงาน ประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยยังไม่ลดลง แนวโน้มสูงขึ้นด้วย เมื่อมีการมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันระหว่างเครือข่ายบริการสุขภาพและชุมชน พบว่าจากการสนับสนุนเครือข่ายในชุมชน พบผู้นำชุมชนหรือแกนนำชุมชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารบอกต่อ และไม่สามารถเป็นแกนนำด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพได้ ส่งผลการร่วมสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในชุมชนยังไม่ชัดเจน สิ่งแวดล้อมในชุมชนยังเอื้อต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้นปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงสนใจจัดทำโครงการแกนนำตำบลจวบสุขภาพดี ร่วมสร้างวิถีชุมชนลดโรคNCDs เพื่อส่งเสริมการรับรู้สุขภาพตนเอง การปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสามารถเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน ส่งผลสามารถบอกต่อ สนับสนุนติดตาม รวมถึงการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมยังเอื้อต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จนเกิดนโยบายสาธารณะที่เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ครูอนามัยโรงเรียน อสม.และผู้นำชุมชน เขตตำบลจวบ ได้รับการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รับทราบผลการคัดกรองสุขภาพ และสามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม

ครูอนามัยโรงเรียน อสม.และผู้นำชุมชน เขตตำบลจวบ เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 ครูอนามัยโรงเรียน อสม.และผู้นำชุมชน เขตตำบลจวบ มีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคNCDs หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค NCDs และสามารถสื่อสารบอกต่อคนอื่นได้

อัตรากลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย ของผู้เข้าร่วมโครงการลดลงหลังจากเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย ร้อยละ 5

0.00
3 3.อสม.เขตตำบลจวบ มีความรู้และทักษะการคัดกรองโรคNCDs เบื้องต้น

อสม.เขตตำบลจวบ ผ่านการสอบทักษะการคัดกรองโรคNCDs เบื้องต้น ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 Work Shop การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
Work Shop การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท  x 63 คน = 3,780บ.
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 63 คน = 3,150บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการแกนนำตำบลจวบสุขภาพดี ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • เครื่องตรวจความเค็ม จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2,000 บาท = 4,000 บาท
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 ทั้งสิ้น 11,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11650.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาทักษะอสม. ต.จวบ จำนวน 115 คน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะอสม. ต.จวบ จำนวน 115 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท  x 115 คน = 6,900บ.
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 115 คน = 5,750บ.
  • รวมงบประมาณ กิจกรรมที่2 ทั้งสิ้น  12,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำรับรู้ และสามารถดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค NCDs หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค NCDs
2. แกนนำสามารถสื่อสารความรู้ให้ชุมชนหรือคนในความปกครองเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค NCDs หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค NCDs


>