กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง โดยปีพ.ศ 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปีพ.ศ 2578 กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานโดยมีมาตรการหลักในการจะบรรลุเป้าหมายและลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้อง1.เร่งรัดการค้นหา วินิจฉัยและรายงานให้มีความครอบคลุมการรักษาร้อยละ 85% ของจำนวนผู้ป่วยที่ค่าประมาณจากอุบัติการณ์ 2. เร่งรัดการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 3. ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 88 ด้วยผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ที่สำคัญนี้จะส่งผลให้อุบัติการณ์วัณโรคลดลงอย่างรวดเร็วถูกเป้าหมายยุติวัณโรคได้
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่อำเภอเจาะไอร้อง พบว่าความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำเทียบกับจำนวนค่าประมาณ 155 ต่อแสนประชากร พบว่าผลการดำเนินงานยังต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 85 โดยผลการดำเนินงานในปีพ.ศ 2563 - 2567 คือร้อยละ 47.5, 37.5 ,42.3, 56.17 และ 42.18 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำระหว่างปีพ.ศ 2563 - 2567 ได้บรรลุตามเป้าหมายคือร้อยละ 100, 91.3, 88.46,96.96 และ 100 ตามลำดับ
ดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากเราสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาและลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค จึงได้จัดโครงการเร่งรัดค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงในตำบลจวบ เพื่อทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ได้รับการรักษาวัณโรค

อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ≥ 88

0.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และกลับเป็นซ้ำ

อัตราความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ≥ 85

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ายานพาหนะ100 คน x 100 บาท = 10,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย = 720 บาท
  • รวมงบประมาณ ทั้งสิ้น  10,720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการเอกซเรย์ทรวงอก
2.ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ค้นพบจากการดำเนินกิจกรรมได้รับการรักษา
3.การขึ้นทะเบียนวัณโรคปอดรายใหม่เพิ่มขึ้น


>