กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 68-L8422-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 10,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาสือนะ เซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง โดยปีพ.ศ 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปีพ.ศ 2578 กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานโดยมีมาตรการหลักในการจะบรรลุเป้าหมายและลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้อง1.เร่งรัดการค้นหา วินิจฉัยและรายงานให้มีความครอบคลุมการรักษาร้อยละ 85% ของจำนวนผู้ป่วยที่ค่าประมาณจากอุบัติการณ์ 2. เร่งรัดการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 3. ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 88 ด้วยผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ที่สำคัญนี้จะส่งผลให้อุบัติการณ์วัณโรคลดลงอย่างรวดเร็วถูกเป้าหมายยุติวัณโรคได้ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่อำเภอเจาะไอร้อง พบว่าความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำเทียบกับจำนวนค่าประมาณ 155 ต่อแสนประชากร พบว่าผลการดำเนินงานยังต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 85 โดยผลการดำเนินงานในปีพ.ศ 2563 - 2567 คือร้อยละ 47.5, 37.5 ,42.3, 56.17 และ 42.18 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำระหว่างปีพ.ศ 2563 - 2567 ได้บรรลุตามเป้าหมายคือร้อยละ 100, 91.3, 88.46,96.96 และ 100 ตามลำดับ ดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากเราสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาและลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค จึงได้จัดโครงการเร่งรัดค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงในตำบลจวบ เพื่อทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ได้รับการรักษาวัณโรค

อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ≥ 88

0.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และกลับเป็นซ้ำ

อัตราความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ≥ 85

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,720.00 0 0.00
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จำนวน 100 คน 0 10,720.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการเอกซเรย์ทรวงอก
2.ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ค้นพบจากการดำเนินกิจกรรมได้รับการรักษา
3.การขึ้นทะเบียนวัณโรคปอดรายใหม่เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 00:00 น.