กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดภัยรอบด้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบ

โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ถนนสนามบิน – บ้านกลาง ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90110 โทรศัพท์ 0-7450-2244 เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นระดับอนุบาล 2 – ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนชาย 29 คน นักเรียนหญิง 31 คน รวมทั้งหมด 60 คน
ปัจจุบันความปลอดภัยของนักเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาของเด็กในโรงเรียน การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โรงเรียนในฐานะสถานที่สำคัญที่นักเรียนใช้เวลาส่วนใหญ่จึงควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในการสร้างความปลอดภัยทั้งด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อม
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เด็กไทยร้อยละ 52 มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ หินปูน ร้อยละ 15 มีภาวะทุพโภชนาการ และในปี 2567 มีโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสในเด็กวัยเรียน เช่นไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้หวัด โรคมือเท้าปากจำนวนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยในช่วงอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนที่มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการป้องกันอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมโรงเรียนปลอดภัย
(Safe School) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อสุขภาพกายและจิตใจของนักเรียน โดยมีเป้าหมายในการลดความเสี่ยงทางสุขภาพ เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน และสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมือง ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างโรงงาน การดำเนินชีวิตของนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับความท้าทายหลายด้าน ส่งผลให้โรงเรียนประสบปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนึ่งในปัญหาสำคัญคือ สุขภาพช่องปากของนักเรียนที่ไม่สมบูรณ์ จากการสำรวจพบว่านักเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากในทุกระดับชั้น ได้แก่ ฟันผุ เหงือกบวม เป็นต้น ตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 51.66 ของนักเรียนทั้งหมด มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง ประกอบกับการเข้าถึงบริการทันตกรรมในพื้นที่มีข้อจำกัด เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ปัญหานี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน ทั้งในด้านการเรียนรู้และสุขภาพโดยรวม ด้านโภชนาการของนักเรียนก็เป็นอีกปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข พบว่านักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเลียบมีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ของนักเรียนทั้งหมด โดยปัญหาโภชนาการที่พบเกิดจากความรู้ด้านโภชนาการที่จำกัดในครัวเรือน รวมถึงการจัดอาหารเช้าที่ขาดความสมดุลด้านสารอาหาร การที่นักเรียนไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมอง
นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนยังมีข้อบกพร่องที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน เช่น การจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม ห้องน้ำที่ขาดการดูแลอย่างถูกสุขลักษณะ และพื้นที่เรียนที่ไม่สะอาด ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้โรงเรียนกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อต่าง ๆ
อีกประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือ ความเสี่ยงจากการจมน้ำในเด็ก โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คลองและบ่อน้ำในชุมชน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตรายสำหรับนักเรียน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น แม้โรงเรียนและชุมชนจะพยายามกำชับเรื่องความปลอดภัย แต่การขาดทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือตัวเองเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
สุดท้าย ปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนยังไม่เป็นไปอย่างเต็มที่ แม้ผู้ปกครองจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก แต่การขาดความรู้และความตระหนักในปัญหาต่าง ๆ ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ยั่งยืน
จากข้อมูลข้างต้นโรงเรียนบ้านทุ่งเลียบจึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการ “โรงเรียนปลอดภัยรอบด้าน” เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในทุกมิติ รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กวัยเรียนแก่ผู้ปกครองนักเรียน

1.  ร้อยละ ๗๐ ของผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน

0.00
2 2. เพื่อดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียน

๑.  ร้อยละ ๘๐ เด็กนักเรียนมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง ๒.  ร้อยละ ๘๐ ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน ๓.  ร้อยละ ๙๐ ของเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์จากบุคลากรสาธารณสุข

0.00
3 ๓. เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียน

๑. โรงเรียนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง อย่างน้อยอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ๒. จัดกิจกรรมรณรงค์การล้างมือและทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม อาทิตย์ละ ๑ ครั้ง

0.00
4 4. นักเรียนมีทักษะการว่ายน้ำและความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ
  1. ร้อยละ 60 เด็กเรียนสามารถว่ายน้ำได้
  2. ร้อยละ 60 เด็กเรียนช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
  3. ร้อยละ 90 เด็กเรียนมีความรู้ด้านความปลอดภัยทางน้ำ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร จำนวน 68 คน

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร จำนวน 68 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (68คน1มื้อ25 บาท) เป็นเงิน 1,700.-บาท 1.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร (3ชั่วโมง600บาท) เป็นเงิน 1,800.-บาท 1.3 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ (1.22.4150บาท1ผืน) เป็นเงิน 432.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3932.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดซื้ออุปกรณ์การสาธิตการแปรงฟันและการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก ประกอบด้วย แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแก้วน้ำ (นักเรียน 60 คน+ชุดสาธิต 1ชุด) (จำนวน 61 ชุด*90บาท) เป็นเงิน 5,490.-บาท 2.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการแปรงฟัน (กระดาษสี กาว เชือก ฯลฯ) เป็นเงิน 1,000.-บาท
2.3 ค่าตอบแทนวิทยากร/ค่าฟลูออไรด์ (ไม่ใช้งบประมาณจากกองทุนฯ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6490.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมโรงเรียนสะอาดเป็น Guard ป้องกันโรคในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมโรงเรียนสะอาดเป็น Guard ป้องกันโรคในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จัดซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาด (big cleaning day)
      - น้ำยาล้างมือ (12 ขวด100.-บาท) เป็นเงิน 1,200.-บาท
      - น้ำยาล้างห้องน้ำ (6 ขวด
50.-บาท) เป็นเงิน 300.-บาท       - น้ำยาถูพื้น  (6 ขวด*50.- บาท) เป็นเงิน 300.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรมการป้องกันการจมน้ำในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมการป้องกันการจมน้ำในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมภาคปฏิบัติ สาธิตวิธีการว่ายน้ำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้       - การว่ายน้ำ       - การลอยตัวในน้ำ       - การใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานช่วยเหลือทางน้ำ 1. ค่าวิทยากร (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 4 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่มๆ ละ 2 คน เวลา 5 วัน วันละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ )
จำนวน 10 คน x 25 บาท x 5 วัน เป็นเงินจำนวน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,847.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการและสามารถดูแลสุขภาพเด็กได้ดียิ่งขึ้น
2.นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีและลดปัญหาฟันผุ
3.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดและลดการแพร่กระจายของโรค
4.นักเรียนมีทักษะการว่ายน้ำและความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ


>