2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง โดยเปลี่ยนเป็นนิยม บริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ซึ่งกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารอาหารต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นตำบลที่มีโรงเรียนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งหมด 7 แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง ซึ่งในแต่ละวันโรงเรียนต้องจัดทำอาหารกลางวันเพื่อบริการแก่นักเรียน ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ รวมทั้งยังมีสถานที่จำหน่ายอาหารในชุมชนสำหรับจำหน่ายอาหารปรุงสุก เพื่อการบริโภคในครัวเรือน และบริเวณสถานที่จำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร จากผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2567 ผลการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอุปกรณ์ อาหารปรุงสุก และมือผู้สัมผัสอาหาร ในร้านจำหน่ายอาหาร พบว่า ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 20ไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 80 ในโรงเรียน พบว่า ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 14.29ไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 85.71 และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 25ไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 75
จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงจัดทำโครงการชุมชนสุขภาพดีด้วยอาหารปลอดภัย ปีงบประมาน 2568 ในพื้นที่ตำบลจวบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะอาดและปลอดภัยในด้านโครงสร้าง กายภาพ ชีวภาพและเคมี แก่ผู้บริโภค ปราศจากสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ (Foodborne diseases) รวมทั้งสารเคมีหรือโลหะหนักด้วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสถานที่จำหน่ายอาหาร มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
2.ผู้ประกอบกิจการแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
3.ผู้บริหารสถานศึกษา มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญหลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
4.ผู้บริโภคในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร