กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันภาวะเครียด และซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง

1.นางสมทรงเย็นใจ
2.น.ส.ซูไมดะห์ ปะจูเล็ง
3.นางนิศารัตน์ รักนุ้ย
4.นางนูรียะห์ อิแม
5.นางแวแอเสาะ วาพา

ประชาชนตำบลมะรือโบออก เขตรพ.สต.บ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่มีกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป

ในสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ระบบการเมืองที่ไม่เสถียรภาพซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในจังหวัดนราธิวาสมีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยมีประเด็นความไม่สงบในพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงจังหวัดนราธิวาส ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และความหวาดกลัว ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เช่นปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตได้ และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตที่จำกัดในพื้นที่ห่างไกล อาจเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และอาจส่งผลต่อสุขภาพทางกายได้ รวมทั้งสามารถลดทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในวงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น การเพิ่มขึ้นของปัญหาอาชญากรรม การใช้สารเสพติด และความรุนแรงในครอบครัว การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในพื้นที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี และช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

80.00

ในสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ระบบการเมืองที่ไม่เสถียรภาพซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในจังหวัดนราธิวาสมีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยมีประเด็นความไม่สงบในพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงจังหวัดนราธิวาส ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และความหวาดกลัว ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เช่นปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตได้ และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตที่จำกัดในพื้นที่ห่างไกล อาจเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและความเครียด
ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และอาจส่งผลต่อสุขภาพทางกายได้ รวมทั้งสามารถลดทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในวงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น การเพิ่มขึ้นของปัญหาอาชญากรรม การใช้สารเสพติด และความรุนแรงในครอบครัว
การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในพื้นที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี และช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง

80.00 1.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการคัดกรองโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีได้รับการคัดกรองโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรมเพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมในดำเนินโครงการ 2. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมะรือโบออก 3. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันภาวะเครียด และซึมเศร้า 4. จัดทำเอกสารการอบรม 5. ประสานวิทยากร ขั้นดำเนินการ
- จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า ขั้นสรุปผลโครงการ - ประเมินศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรม โดยการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า 8.30 น- 9.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 9.00 น - 10.30 น. แนวคิด ความจำเป็นในการดูแลสุขภาพจิตของแต่ละกลุ่ม 10.30น- 10.45น.พักรับประทานอาหารว่าง 10.30น- 12.00 น.วิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง 12.00 น - 13.00น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น - 14.30น. ปัญหาที่เกิดจากโรคซึมเศร้า
14.30น - 14.45น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45น- 16.30น. การประเมินความเสี่ยง
16.30 น.พิธีปิดโครงการ 1.ค่าอาหารกลางวัน60 บาท X75 คน X 1มื้อเป็นเงิน 4,500บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม25 บาท X75 คน X2 มื้อ เป็นเงิน 3,750บาท 3.ค่าไวนิล ขนาด 1x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท 4. ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชม
เป็นเงิน 3,600 บาท 5.ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป็นเงิน 3,375 บาท -สมุด75 เล่ม x 15 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท -ปากกาลูกลื่น 75 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 375 บาท - แฟ้มกระดุม 75 ใบx 25 บาท เป็นเงิน 1,875 บาท รวม เป็นเงิน15,725บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการป้องกันภาวะเสี่ยง 1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีได้รับการคัดกรองโรคเครียดและโรคซึมเศร้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15725.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการป้องกันภาวะเสี่ยง
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า


>