กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันภาวะเครียด และซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L2480-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมทรง เย็นใจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่มีกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป

ในสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ระบบการเมืองที่ไม่เสถียรภาพซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในจังหวัดนราธิวาสมีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยมีประเด็นความไม่สงบในพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงจังหวัดนราธิวาส ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และความหวาดกลัว ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เช่นปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตได้ และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตที่จำกัดในพื้นที่ห่างไกล อาจเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และอาจส่งผลต่อสุขภาพทางกายได้ รวมทั้งสามารถลดทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในวงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น การเพิ่มขึ้นของปัญหาอาชญากรรม การใช้สารเสพติด และความรุนแรงในครอบครัว การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดในพื้นที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี และช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง

80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง

80.00 1.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการคัดกรองโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีได้รับการคัดกรองโรคเครียดและโรคซึมเศร้า

100.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,725.00 0 0.00 15,725.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า 0 15,725.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 15,725.00 0 0.00 15,725.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการป้องกันภาวะเสี่ยง
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 00:00 น.