2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัญหายาเสพติด” เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด เนื่องจากก่อให้เกิดอาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือเป็นตัวบ่อนทำลายเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ
ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ขยายเข้าสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงและผลกระทบมากมาย โดยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชจากการเสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการรักษาในแต่ละปี ราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ก่อความรุนแรงด้วย 4 ปัญหาใหญ่ จาก “ยาเสพติดในชุมชน” ได้แก่ 1) ปัญหาด้านสาธารณสุข ร่างกายของผู้ที่เสพยาเสพติดทรุดโทรม อ่อนแอ เสียสุขภาพ มีผลต่อระบบสมองและประสาท 2) ปัญหาด้านสังคม ทำให้สังคมเสื่อมโทรม เนื่องจากผู้เสพจำนวนมาก ไม่ยอมทำงาน ไม่เรียนหนังสือ และอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เสพยากับกลุ่มคนปกติ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐในการใช้จ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งยังทำให้ขาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพ 4.) ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากยาเสพติดทำให้ขาดสติ เกิดปัญหาลักทรัพย์ หรืออาชญากรรมต่าง ๆ เช่น จี้จับตัวเนื่องมาจากเกิดการหลอน และการประทุษร้ายผู้อื่น
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนมักมีสาเหตุพื้นฐานมาจาก
1) สถานภาพทางครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง
2) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่ชักจูงจนเกิดความอยากรู้และอยากลอง
3) ปัญหาพฤติกรรมลอกเลียนแบบจากกลุ่มเพื่อนหรือผู้ปกครอง
4) ความเสี่ยงที่เกิดจากสื่อที่มีการแสดงตัวอย่างจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่เยาวชน เช่น ความเท่ ความรวย ที่ได้จากการเสพยาและการจำหน่ายยาเสพติด
5) สภาพแวดล้อมในชุมชนและระดับการศึกษาที่ทำให้เยาวชนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาเสพติด
หมู่บ้านคลองรีเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ติดทะเล เป็นชุมชนแออัดน้ำท่วมขังตลอดทั้งปีตามสภาวะน้ำขึ้นน้ำลงของทะเล แต่ก่อนมีการบาดของยาเสพติด ปัจจุบันได้เกิดชมรมต่างๆขึ้นในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมในการเฝ้าระวังการระบาดยาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราการระบาดของยาเสพติดลดลง เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย กิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน กิจกรรมพี่ดูแลน้อง ทำให้เยาวชนและผู้ปกครองในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วม เยาวชนมีความสามัคคีกัน ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆอย่างสนุกสนุกสนาน ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งช่วยให้เยาวชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมที่ดีมีความรักในบ้านเกิด
ชมรมคนรักกีฬา ม.1 บ้านคลองรี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับทุกกลุ่มวัยในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเยาวชนมานานหลายปี จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าเยาวชนในพื้นที่เกาะเป็นกลุ่มกัน ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง คนรอบข้าง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมจึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ
3. คัดกรองเยาวชนหรือกลุ่มเสี่ยง ต่อการติดยาเสพติด
4. จริยธรรมสร้างสุขภาพ จัดอบรมจริยธรรม สร้างสุขภาพให้ปลอดยาเสพติด
5. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อต้านยาเสพติดสร้างคุณค่าให้แก่ตเองและคนรอบข้าง
- กิจกรรมฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอล ตะกร้อ วอลเล่ย์บอล พายเรือพาย ฯลฯ
- กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนน่าอยู่ปลอดยาเสพติด กิจกรรมประเพณีวิถีชุมชน ฯลฯ
6. กำหนดมาตรการชุมชนเพื่อป้องกันยาเสพติด
7. สรุปผลการดำเนินงาน
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
2. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในสถานศึกษา และชุมชุน
3. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่
4. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
5. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
6. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน
7. คลองรีเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน