กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนคลองรี ปลอดยาเสพติด ปี 68
รหัสโครงการ 68-L3065-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักกีฬา หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาฮาซัน หะยีมุเสาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ม.1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.859658,101.176732place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติด” เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด เนื่องจากก่อให้เกิดอาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือเป็นตัวบ่อนทำลายเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ขยายเข้าสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงและผลกระทบมากมาย โดยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชจากการเสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการรักษาในแต่ละปี ราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ก่อความรุนแรงด้วย 4 ปัญหาใหญ่ จาก “ยาเสพติดในชุมชน” ได้แก่ 1) ปัญหาด้านสาธารณสุข ร่างกายของผู้ที่เสพยาเสพติดทรุดโทรม อ่อนแอ เสียสุขภาพ มีผลต่อระบบสมองและประสาท 2) ปัญหาด้านสังคม ทำให้สังคมเสื่อมโทรม เนื่องจากผู้เสพจำนวนมาก ไม่ยอมทำงาน ไม่เรียนหนังสือ และอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เสพยากับกลุ่มคนปกติ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐในการใช้จ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งยังทำให้ขาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพ 4.) ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากยาเสพติดทำให้ขาดสติ เกิดปัญหาลักทรัพย์ หรืออาชญากรรมต่าง ๆ เช่น จี้จับตัวเนื่องมาจากเกิดการหลอน และการประทุษร้ายผู้อื่น ปัญหายาเสพติดในชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนมักมีสาเหตุพื้นฐานมาจาก
1) สถานภาพทางครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง
2) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่ชักจูงจนเกิดความอยากรู้และอยากลอง
3) ปัญหาพฤติกรรมลอกเลียนแบบจากกลุ่มเพื่อนหรือผู้ปกครอง
4) ความเสี่ยงที่เกิดจากสื่อที่มีการแสดงตัวอย่างจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่เยาวชน เช่น ความเท่ ความรวย ที่ได้จากการเสพยาและการจำหน่ายยาเสพติด
5) สภาพแวดล้อมในชุมชนและระดับการศึกษาที่ทำให้เยาวชนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาเสพติด
หมู่บ้านคลองรีเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ติดทะเล เป็นชุมชนแออัดน้ำท่วมขังตลอดทั้งปีตามสภาวะน้ำขึ้นน้ำลงของทะเล แต่ก่อนมีการบาดของยาเสพติด ปัจจุบันได้เกิดชมรมต่างๆขึ้นในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมในการเฝ้าระวังการระบาดยาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราการระบาดของยาเสพติดลดลง เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย กิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน กิจกรรมพี่ดูแลน้อง ทำให้เยาวชนและผู้ปกครองในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วม เยาวชนมีความสามัคคีกัน ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆอย่างสนุกสนุกสนาน ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งช่วยให้เยาวชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมที่ดีมีความรักในบ้านเกิด ชมรมคนรักกีฬา ม.1 บ้านคลองรี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับทุกกลุ่มวัยในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเยาวชนมานานหลายปี จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าเยาวชนในพื้นที่เกาะเป็นกลุ่มกัน ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง คนรอบข้าง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมจึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการระบาดของยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในพื้นที่

หมู่บ้านคลองรีปลอดยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย

1.00 1.00
2 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ห่างไกลยาเสพติด เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่พึ่งยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

60.00 54.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,600.00 0 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ขับเคลื่อน 0 5,250.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 ตาสับปะรด 0 0.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกาย 0 8,000.00 -
1 - 30 เม.ย. 68 จริยธรรมสร้างสุขภาพ 0 13,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
    1. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในสถานศึกษา และชุมชุน
    2. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่
    3. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
    4. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
    5. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน
    6. คลองรีเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2568 14:23 น.