กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10 -14 ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนรองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี และการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม66,280 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 102.77 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 50 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.08 ต่อแสนประชากร
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดยะลา ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 862 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 159 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.19 ต่อแสนประชากร ในเขตอำเภอเมืองยะลา ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 49 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 117.26 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ในเขตตำบลบุดี ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 286.08ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 2567 จำนวน 6,292 คน) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค
ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียนชุมชนสถานที่ราชการต่าง ๆการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2568 ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกประชากรทุกกลุ่มอายุ

ข้อ 1  สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

0.00
2 ข้อที่ 2 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ครู แกนนำนักเรียน ให้มีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ให้แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครู แกนนำนักเรียน ให้มีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ  เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม  การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
ข้อที่ 3 ร้อยละ 90 ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิดและ โรงเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ให้ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว)จำนวน 60 คน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ให้ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว)จำนวน 60 คน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่งโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน                 เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คน X 2 มื้อ X 1 วัน X 35 บาท                 เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน X 1 มื้อ X     1 วัน X 75 บาท                   เป็นเงิน  4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 2 .จัดอบรบให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่คูรและแกนนำนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน จำนวน 4 ครั้งๆละ 30 คน

ชื่อกิจกรรม
.จัดอบรบให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่คูรและแกนนำนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน จำนวน 4 ครั้งๆละ 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน    30 คน X 35 บาท X 4  ครั้ง                     เป็นเงิน  4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมย่อย จัดซื้อวัสดุที่สนับสนุนในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย จัดซื้อวัสดุที่สนับสนุนในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 4 ถังๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท 2.จัดซื้อยาทากันยุงจำนวน 500 ซองๆละ 10 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท 3.จัดซื้อสเปร์พ่นฆ่ายุงตัวแก่ขนาด 300 มล จำนวน 60 ขวด ๆละ 65 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนด้านสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนเองด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
2. แกนนำชุมชนด้านสุขภาพประจำครอบครัวมีทักษะและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวที่เหมาะสมกับโรค วัยความเสี่ยง ภัยสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้


>