โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L4135-01-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 40,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสกุลเอก ชูเมือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10 -14 ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนรองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี และการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม66,280 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 102.77 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 50 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.08 ต่อแสนประชากร
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดยะลา ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 862 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 159 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.19 ต่อแสนประชากร ในเขตอำเภอเมืองยะลา ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 49 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 117.26 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ในเขตตำบลบุดี ปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 จำนวนผู้ป่วยสะสม 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 286.08ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 2567 จำนวน 6,292 คน) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค
ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียนชุมชนสถานที่ราชการต่าง ๆการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2568 ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกประชากรทุกกลุ่มอายุ ข้อ 1 สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว) ครู แกนนำนักเรียน ให้มีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ให้แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครู แกนนำนักเรียน ให้มีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 40,600.00 | 0 | 0.00 | |
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ให้ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว)จำนวน 60 คน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก | 0 | 11,700.00 | - | ||
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | .จัดอบรบให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่คูรและแกนนำนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน จำนวน 4 ครั้งๆละ 30 คน | 0 | 4,200.00 | - | ||
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมย่อย จัดซื้อวัสดุที่สนับสนุนในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 24,700.00 | - |
- สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน 2. ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด ปอเนาะและ โรงเรียนให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 00:00 น.