2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น การดำเนินการเร่งรัด การค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุประวัติสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และบุคลากรทางการแพทย์ พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้เพียง 104 ต่อแสนประชากร ยังน้อยกว่าเกณฑ์ของประเทศ (150 ต่อ แสนประชากร)เป้าหมายร้อยละ 88
สถานการณ์วัณโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ปีงบประมาณ 2566 พบผู้ป่วย 6 ราย รักษาครบ/หาย จำนวน 6 รายปีงบประมาณ 2567พบผู้ป่วยจำนวน 6 ราย รักษาครบ/หาย 6 รายคิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายร้อยละ 90 ) ปีงบประมาณ 2568 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย กำลังรักษา 1 รายเนื่องจากกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองยังไม่ครอบคลุมทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ ยังไม่ถูกค้นพบและเชื้อโรคแพร่กระจายไปในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อที่จะลดปัญหาของการเกิดโรควัณโรคและภัยสุขภาพได้ ดังนั้นการค้นหาผุ้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาและลดปัญหาการดื้อยาวัณโรคเชิงรุกด้วยการตรวจหาเชื้อวัณโรคและเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นกาตัดวงจรการแพร่กระจายและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 05/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ และสร้างความรอบรู้เรื่องวัณโรค ร้อยละ 90
2.อัตราความครอบคลุมการค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ร้อยละ 90
3.ผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 100