แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า รหัส กปท. L3367
อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยเป็นปัญหาเรื้อรังปัญหาหนึ่ง โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้จำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมทั้งผู้เสพ ครอบครัว และชุมชน สถานการณ์ยาเสพติดสำหรับสถิติของผู้ป่วยสารเสพติดในประเทศไทย จากรายงานผลการดำเนินงานตามแบบบำบัดรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบว่ามีผู้เข้ารับการบำบัด ทั้งหมด 120,925 คน โดยแบ่งเป็นชาย จำนวน 1063,709 คนและหญิง จำนวน 14,206 คน นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 4,335 คน ว่างงาน จำนวน 24,349 คน และอื่นๆ จำนวน 17,105 คน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็นผู้ที่ดื่มสุรา ประมาณ 15.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28.4 โดยเป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ 6.98 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และเป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง 8.91 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.9 ในกลุ่มอายุ 25 - 44 ปี มีอัตราการดื่มสุราสูงสุด ร้อยละ 36 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 20 - 25 ปี ร้อยละ 33.5 ตามลำดับ การใช้สุรา/สารเสพติดมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิตหรือเรียกว่าภาวะโรคจิตเวชสุรา/สารเสพติด ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวผ่านเข้าสู่สมองมีผลทำให้สารสื่อนำประสาทหรือสารโดปามีนในสมองผิดปกติ หากมีการเสพติด/ดื่มหนักมากก็จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งทางร่างการและทางจิตเวชได้ เช่น ภาวะหวาดระแวง หลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับภาคีเครือข่ายดำเนินการการบำบัดรักษายาเสพติดภายใต้นโยบาย “ผู้เสพคือผู้ป่วย” ให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาแทนการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วิธีที่คุ้มค่าที่สุดคือการให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหายาเสพติด (CommunityBasedTreatmentand Care: CBTX) ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนมีอัตราการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉิน หรือประวัติทางอาชญากรรมลดลง และยังมีทางเลือกที่เหมาะสม อาทิ การลดอันตรายจากสารเสพติด การป้องกันและแก้ไขผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติดเพิ่ม การเข้าถึงบริการระบบสาธารณสุขให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และการเตรียมการรองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดเพื่อเป้าหมายคือผู้เสพผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดรักษา ลดอันตรายจากยาเสพติด สามารถกลับสู่สังคมไปใช้ชีวิตในสังคมตามปกติได้ จากสถิติผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติด ปี 2566 จำนวน 4 ราย และ ปี 2567 จำนวน 3 ราย และยังมีผู้ป่วยติดสารเสพติดในพื้นที่อีกมากที่ยังไม่ได้รับการบำบัดรักษา และยังไม่มีอาการทางจิตเวช และหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาเพื่อป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ ซึ่งจะเห็นว่าผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับเสพซ้ำอีกเป็นจำนวนมาก การใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการบำบัดถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกับประชาชนหรือกลุ่มบุคคลซึ่งต้องเข้ามาร่วมกันดำเนินการในการบำบัดฟื้นฟูทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจปฎิบัติการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์และการประเมิลผล การดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในชุมชนเป็นการบำบัดแบบหนึ่งที่ให้บริการในชุมชน ทำให้เข้าถึงครอบครัวของผู้ใช้สารเสพติดและสมารถนำทรัพยากรรวมถึงนำความรู้ที่มีในชุมชนมาร่วมในการบำบัดฟื้นฟูได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการประชุมเชิงปฎิบัติการการสร้างการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดในชุมชน ฟื้นฟูสมรรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติด เน้นชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดและมีความผิดปกติทางจิตเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาอย่างมีมาตรฐานและเหมาะสม สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ
-
1. เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตัวชี้วัด : ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 2.00
-
2. เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติดตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติดขนาดปัญหา 12.00 เป้าหมาย 10.00
- 1. สกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รายละเอียด
เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ มีการจัดตั้งกลุ่มค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในพื้นทีรับผิดชอบ เพื่อค้นหากลุ่มเสพ กลุ่มเสี่ยง การบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัดเพื่อรักษาต่อเนื่องและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กในชุมชนได้พัฒนาทักษะตนเองโดยมีการประชุมแกนนำชุมชนในพื้นที่ ประกอบด้วย แกนนำอสม. จำนวน 55 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน มีการให้ความรู้เกี่ยวยาเสพติด และฝึกปฏิบัติในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด โดยการจำลองเหตุการณ์ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท - ค่าทีมวิทยากร จำนวน 4 คน (ช่วงเช้า จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท ช่วงบ่ายทำกิจกรรมซ้อมแผน มีทีมวิทยากร จำนวน 4 ท่านๆ 3 ชั่วโมงๆ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท) รวมเป็นเงิน 9,000 บาทงบประมาณ 18,600.00 บาท - 2. ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชนรายละเอียด
ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการเฝ้าระวัง ให้มีองค์ความรู้และมีทักษะในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนและมีคณะทำงานติดตามประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่มีแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนโดยมีการติดตามการเฝ้าระวังโดยภาคีเครือข่ายอสม.ผู้นำชุมชน
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชนรายละเอียด
เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด และลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน พัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนให้เชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง และการสร้างระบบรองรับต่อผู้ที่ผ่านการบำบัดจากสถานบำบัดเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ให้ได้รับการฝึกอาชีพ การสร้างการยอมรับในการจ้างงาน และให้โอกาสในการกลับมาเป็นสมาชิกของชุมชน การพัฒนาระบบการดูแลผู้การบำบัดโดยการบูรณาการวิถีชุมชน ที่ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่กลับไปเสพยาซ้ำโดยมีการเฝ้าระวังและติดตามโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน
งบประมาณ 0.00 บาท - 4. เฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่องรายละเอียด
เฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการสุ่มตรวจปัสสาวะ ทุก 4 เดือน เพื่อเฝ้าระวังการเสพยาเสพติดซ้ำ และส่งเสริมอาชีพตามที่ตนเองถนัดเพื่อให้ผู้เสพห่างไกลยาเสพติด 1.ค่าชุดตรวจยาเสพติด จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท
งบประมาณ 3,500.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 21 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
หมู่ที่ 1 , 2 , 4 และ 10 ตำบลเขาย่า
รวมงบประมาณโครงการ 22,100.00 บาท
ปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน อายุ 15 - 25 ปี ลดลง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า รหัส กปท. L3367
อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า รหัส กปท. L3367
อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................