แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก
ตำบลปริกอำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อหมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่อสามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด
จากข้อมูลย้อนหลัง3ปีพบผู้ป่วยโรคด้วยโรคติดต่อ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก ปี 2565 จำนวน 68 ราย ปี 2566 จำนวน 109 ราย ปี 2567 จำนวน 19 ราย โรคมือเท้าปาก ปี 2565 จำนวน6ราย ปี 2566 จำนวน8รายปี 2567 จำนวน 2 รายโรคหัด ปี 2565 จำนวน 1 ราย ปี 2566 จำนวน 2 ราย ปี 2567 จำนวน 3 ราย โรคฉี่หนูปี 2565 จำนวน 1 ราย ปี 2566 จำนวน 3 ราย ปี 2567ไม่มีผู้ป่วย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคสุกใส ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และอื่นๆ ยังคงพบผู้ป่วยทุกปี
จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดนำนโยบายการจัดการสุขภาวะ เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของพลังคนในชุมชนให้เกิดการตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคติดต่อ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองโรคติดต่อที่พบเจอภายในเขตเทศบาลตำบลปริก นำไปสู่การปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก ได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
ปีงบประมาณ 2568ดังกล่าวขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริกต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 06/02/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนมีความตื่นตัวในการป้องกันโรคติดต่อด้วยตนเอง
2.อัตราป่วยลดลงและไม่มีอัตราตายจากโรคติดต่อ