กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่

ตำบลเกาะใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลาย และยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ

การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบายและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของภาชนะน้ำขังที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่เชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปีผ่านมา พบผู้ป่วยจำนวน 12 ราย แยกเป็นรายหมู่บ้าน คือ หมู่ 2 จำนวน 7 ราย หมู่3 จำนวน 1 ราย หมู่ 4 จำนวน 3 ราย หมู่5 ไม่มีผู้ป่วย และหมู่7 จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยเรียน พบผู้ป่วยตั้งแต่เดือน มกราคม 67 - กันยายน 267 ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเกาะใหญ่ จึงได้ทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการและในฤดูระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนต่อการต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

0.50

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตูการณ์

0.50 1.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และโรงเรียน ที่เป็นแหล่งรังโรค

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และโรงเรียน

0.50 1.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชน สร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่

ประชาชนมีความและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.50 1.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ประชาชนสามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

0.50 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,640
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ทำลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่าง พ่นหมอกควัน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่าง พ่นหมอกควัน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างฉีดพ่นหมอกควัน (จำนวน 90ครั้ง * คน*300 บาท เป็นเงิน 54,000 บาท
  • ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุง จำนวน 10 ขวด*1500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนนว 7 ถัง*4,800 บาท เป็นเงิน 33,600 บาท
  • จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายแบบเคาะประตูบ้าน เพื่อขอความร่วมมือ และให้ความรู้กับเจ้าบ้านและสมาชิกในบ้าน *ก่อนการระบาดของโรคไข้เลือดออก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ลงสำรวจและกำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ *ขณะการระบาดของโรคไข้เลือดออกอาสาสมัครประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ลงสำรวจและกำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายบ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วย ทุกวันศุกร์ติดต่อกัน 3 ครั้ง *แจ้งทีมพ่นยุง เพื่อพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวเต็มวัย จำนวน 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน *หลังการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีการเฝ้าระวังโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้านลงสำรวจและกำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
102600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโลชั่นกันยุง จำนวน 20 ขวด *60 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าสเปรย์ฉีดภายในบ้าน 10 ขวด*140 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเพื่อป้องกันการระบาดในบ้านผู้ป่วยและผู้สัมผัสร่วมบ้านและฉีดสเปรย์เพื่อกำจัดยุงลายในบ้านผู้ป่วยก่อนการพ่นหมอกควัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 105,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มอายุ
2. มีการเฝ้าระวัง สำรวจ ทำลายแแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายต่อเนื่อง
3. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
4. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
5. มีกิจกรรมการณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง


>