โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L5163-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ |
วันที่อนุมัติ | 4 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 105,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสิทธา วิเชียรบุตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 3640 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลาย และยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบายและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของภาชนะน้ำขังที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่เชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปีผ่านมา พบผู้ป่วยจำนวน 12 ราย แยกเป็นรายหมู่บ้าน คือ หมู่ 2 จำนวน 7 ราย หมู่3 จำนวน 1 ราย หมู่ 4 จำนวน 3 ราย หมู่5 ไม่มีผู้ป่วย และหมู่7 จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยเรียน พบผู้ป่วยตั้งแต่เดือน มกราคม 67 - กันยายน 267 ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเกาะใหญ่ จึงได้ทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการและในฤดูระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนต่อการต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก |
0.50 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์ สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตูการณ์ |
0.50 | 1.00 |
2 | เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และโรงเรียน ที่เป็นแหล่งรังโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และโรงเรียน |
0.50 | 1.00 |
3 | เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชน สร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ ประชาชนมีความและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก |
0.50 | 1.00 |
4 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนสามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก |
0.50 | 1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ทำลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่าง พ่นหมอกควัน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน | 0 | 102,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย | 0 | 2,600.00 | - | ||
รวม | 0 | 105,200.00 | 0 | 0.00 |
- ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มอายุ
- มีการเฝ้าระวัง สำรวจ ทำลายแแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายต่อเนื่อง
- ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
- การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
- มีกิจกรรมการณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 00:00 น.