แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์
ตำบลกระแสสินธุ์
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นับเป็น ปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญ และนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรัง เป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ กรรมพันธุ์ และ สิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหาร และสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลของการวิจัยหลายชิ้น ชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน และ ป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ จากข้อมูลอัตราการป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ปี 2567 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดจำนวน 235 คน ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ทั้งหมด 193 คน คิดเป็นร้อยละ 83 และพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 71 คน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 7 จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 37ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมดและพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 339 คนไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 58.4 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ผู้ป่วยเหล่านี้ หากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์ อาจจะไม่เพียงพอ เพื่อเป็นการควบคุมภาวะโรค และ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรม ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยได้จัดทำโครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ เสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วย สามารถควบคุมโรคได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ข้อที่ 1.กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ และ มีพฤติกรรม ที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง และผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระกดับความดันโลหิตได้และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/01/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ระดับความรู้ และ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ของกลุ่มเป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ประเมินจาก แบบสอบถามก่อน - หลัง
2. ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 สามารถควบคุมระดับ HbA1C ได้น้อยกว่า 7
3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้