กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินผักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์

โรงเรียนวัดโตนดด้วน

ตำบลกระแสสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพที่ดี รู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

 

220.00
2 โรงเรียนผลิตผักปลอดสารพิษเข้าสู่กระบวนการประกอบอาหารได้ตลอดปีการศึกษา

 

220.00
3 นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีและช่วยลดต้นทุนการผลิต

 

220.00

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน นอกจากการสร้างมาตรการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครอง อย่างปลอดภัย โรงเรียนวัดโตนดด้วนเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ได้ส่งเสริมให้นักเรียนชั้น ป1-6 ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียนเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 นักเรียนมีสุขภาพที่ดีมีความปลอดภัยรู้จักเลือกการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
ข้อที่ 2 โรงเรียนเป็นต้นแบบโรงเรียนสร้างแหล่งอาหารอาหารปลอดภัยให้กับนักเรียน
ข้อที่ 3 นักเรียนมีความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีและปลอดสารเคมี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและลดต้นทุนการผลิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและลดต้นทุนการผลิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและลดต้นทุนการผลิต    1. การทำดินผสมพร้อมปลูก    2. การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    3. การเพาะเมล็ดผักและการย้ายต้นกล้าลงถาดเพาะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2568 ถึง 26 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การทำดินผสมพร้อมปลูก 1. ค่าวิทยากร600 บ. x 3 ชม. X 1 คน = 1,800 บาท 2. ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 220 คน = 6,600 บาท 3. ค่าวัสดุ
- ไวนิล4ผืนx 400 บาท = 1,600 บาท ไวนิลชื่อโครงการ 1 ผืน ขนาด 1.22.4 ไวนิลฐานการทำดินผสมพร้อมปลูก 1 ผืน ขนาด 1.22.4 ไวนิลฐานการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ผืน ขนาด 1.22.4 ไวนิลฐานการเพาะเมล็ดผักและการย้ายต้นกล้าลงถาดเพาะ 1 ผืนขนาด 1.22.4 -มูลวัว 10 กระสอบ x 40 บาท = 400 บาท -กาบมะพร้าวสับ 10 กระสอบ x 40 บาท = 400 บาท -แกลบดำ 10 กระสอบ x 70 บาท = 700 บาท -ปูนขาว 5 ถุง x 70 บาท = 350 บาท -ผ้ายางกันวัชพืชกว้าง 1 ม.ยาว 50 ม. X 1 ผืน = 1,200บาท รวม 13,050 บาท

การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง -ไข่ไก่1 แผง x 125 บาท = 125 บาท
-ผงชูรส ขนาด 1 กก x 1 ถุง = 115 บาท -น้ำปลา1 ขวดx 30 บาท = 30บาท -กะปิ½ กก x120 บาท = 60 บาท รวม 330 บาท

การเพาะเมล็ดผักและการย้ายต้นกล้าลงถาดเพาะ -เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง2 กิโลกรัม x 180บาท = 360 บาท -เมล็ดพันธุ์ผักอื่นๆ 8 ซอง x 25 บาท = 200 บาท -ดินสำหรับเพาะเมล็ด (พีซมอส) 1 กระสอบ x 400 บาท = 400 บาท รวม 960 บาท รวมทั้งสิ้น 14,340 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบบาทถ้วน )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,340.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดจะได้รับ
1.นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัย รู้จักเลือกการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
2.โรงเรียนเป็นต้นแบบโรงเรียนสร้างแหล่งอาหารอาหารปลอดภัยให้กับนักเรียน
3.ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีและปลอดสารพิษ


>