โครงการกินผักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการกินผักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L5162-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดโตนดด้วน |
วันที่อนุมัติ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,340.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศุภินทรา หัสไทรทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพที่ดี รู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย | 220.00 | ||
2 | โรงเรียนผลิตผักปลอดสารพิษเข้าสู่กระบวนการประกอบอาหารได้ตลอดปีการศึกษา | 220.00 | ||
3 | นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีและช่วยลดต้นทุนการผลิต | 220.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน นอกจากการสร้างมาตรการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครอง อย่างปลอดภัย โรงเรียนวัดโตนดด้วนเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ได้ส่งเสริมให้นักเรียนชั้น ป1-6 ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียนเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
ผลที่คาดจะได้รับ
1.นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัย รู้จักเลือกการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
2.โรงเรียนเป็นต้นแบบโรงเรียนสร้างแหล่งอาหารอาหารปลอดภัยให้กับนักเรียน
3.ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีและปลอดสารพิษ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.