2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สมองเสื่อมเป็นภาวะที่ความสามารถทางด้านสติปัญญาทํางานลดลง ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากเซลล์สมองถูกทําลาย เมื่อ เซลล์สมองไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ ส่งผลให้ความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกได้รับผลกระทบไปด้วย สาเหตุที่ทําให้สมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ และมีปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญ คือ อายุที่มากขึ้น จึงพบมากในวัยสูงอายุ และปัจจุบันโรคนี้พบมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คือ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัดเพิ่มขึ้น และการมีโรคประจําตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคตับ ไต และโรคเรื้อรัง
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทําให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัว แต่ถ้าได้รับความรู้ในการป้องกันและปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธีก็อาจช่วยให้สมองมีความจําที่ดีได้ อย่างเช่น หลีกเลี่ยงสารหรือยาที่จะทําให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาโดยไม่จําเป็น การฝึกฝนสมองให้ได้คิดบ่อย ๆ เช่น อ่านหนังสือ คิดเลข การออกกําลังกายสม่ำเสมอ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ และการตรวจสุขภาพประจําปี หรือการติดตามการรักษาเป็นระยะ ก็สามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ๙ ด้าน ในหมู่ที่ ๑,๖ ปี พ.ศ. ๒๕๖๗ พบว่ามีความเสี่ยงด้านสมองเสื่อม จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๔๕ ถ้าหากดูแลควบคุมโรคได้ไม่ดีนัก หลอดเลือดจะได้รับความเสียหายมากขึ้น ทําให้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลรัษฎา ได้เล็งเห็นความสําคัญของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือด จึงจัดทํา โครงการ สูงวัยสู้ภัยโรคสมองเสื่อม หมู่ที่ ๑,๖ ตําบลควนเมา ประจำปี ๒๕๖๘ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ถูกต้อง และเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทํากิจกรรมกระตุ้นกระบวนการคิดและความจําได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมกระตุ้นกระบวนการคิดและความจำได้