แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ รหัส กปท. L2542
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นางโนรีฮาเจ๊ะมะนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวรอฮีมะห์ บีรูพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.นางสาวฮานีซะห์ สาวนินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
4.นางสาวอามีเราะห์ สะอิ้ง แพทย์แผนไทย
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาไปในทางที่เสื่อมถอย อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จึงเกิดได้ง่าย และรุนแรงกว่าช่วงวัยหนุ่มสาว ๆ เช่นเดียวกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) ซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 50 มีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เริ่มจากมีอาการปวดบริเวณคอ บ่าไหล่ หลัง และเข่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนบนมีปัจจัยและสาเหตุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีการเสื่อมลง ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายลดความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ประกอบกับเซลล์ของร่างกายมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและสารเคมี (Helme & Gibson, 2001) อาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุอย่างยิ่ง อีกทั้งอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อลดอัตราการป่วย และเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะมีความถดถอยลงทั้งในด้านความแข็งแรงและการใช้งาน อาการเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุ มีงานวิจัยระบุว่าร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 72 ปีขึ้นไปได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเวียนศีรษะเรื้อรัง และยังมีแนวโน้มที่มีความชุกมากขึ้นตามอายุอีกด้วย
ปัจจุบันการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อมีรูปแบบการรักษาที่นิยม คือ การรักษาทางศัลยกรรมด้วยการผ่าตัด และการใช้ยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ แต่การรักษาผู้ป่วยแบบนี้แบบนี้มีอาการข้างเคียง เช่น การใช้ยาต้านการอักเสบมีผลก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการนำแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสานเข้ามาดูแลผู้ป่วยเพื่อลดปัญหาอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ในการดูแลแบบองค์รวม (ลดาวัลย์ และคณะ, 2558) โดยมีรูปแบบการรักษามากมายหลายวิธี แต่วิธีการที่มีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การนวด และการประคบ (ชาคริต และคณะ, 2557) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาโดยการนวดนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อันเนื่องมาจากการทำงานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี (เกศ, 2553) นอกจากนี้ยังมีการดูแลสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรและยาดมสมุนไพร โดยยาหม่องไพลมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้ทาถู นวดบริเวณที่มีอาการ ซึ่งสารสำคัญของสมุนไพรจะซึมเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อ ส่งเสริมให้การนวดมีผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น และการดมยาสมุนไพร ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ หรือลดอาการหน้ามืด โดยยาดมสมุนไพรมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีสารสำคัญ และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถสร้างความสดชื่นให้เราได้ดียามเหนื่อยล้า และช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ โดยเป็นการส่งเสริมการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ยาหม่องไพล และยาดมสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลผลิต เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ได้อีกด้วย ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยคงไว้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน
-
1. 1. เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ โดยการผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตัวชี้วัด : 1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
- 1. 1. ประชาสัมพันธ์โครงการรายละเอียด
- ค่าไวนิล
-ขนาด 3 เมตร X 1 เมตร X 1 ชุด เป็นเงิน 900 บาท
งบประมาณ 900.00 บาท - ค่าไวนิล
- 2. 2. จัดทำสื่อการสอน/แผ่นพับรายละเอียด
- ชุดไวนิล ขนาด 160 X 60 cm 2 ชุด 450 บาท x 2 ชุด เป็นเงิน 900 บาท
งบประมาณ 900.00 บาท - 3. 3. ให้ความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ทำยาหม่องและยาดมสมุนไพรรายละเอียด
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน x 1 รุ่น เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 1 รุ่น เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากร 6 ชม. x 600 บาท x 1 รุ่น เป็นเงิน 3,600 บาท
งบประมาณ 6,600.00 บาท - 4. 4. สาธิต/สอน วิธีการทำยาหม่องไพลและยาดมสมุนไพรรายละเอียด
- ค่าอุปกรณ์และวัสดุสมุนไพร 7,910 บาท 1.1 เครื่องชั่งดิจิตอล 1,500 บาท จำนวน2 เครื่อง เครื่องละ 750 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 1.2 บีกเกอร์ ขนาด 100 กรัม 2 ใบ x 65 บาท ขนาด 1,000 กรัม 2 ใบ x 110 บาทเป็นเงิน 350 บาท 1.3 แท่งแก้วคนสาร 1 x 90 บาท เป็นเงิน 90 บาท 1.4 โกร่งบดยา 1 ชุด 1 x 365 บาทเป็นเงิน 365 บาท 1.5 สมุนไพรทำยาหม่องเป็นเงิน 1,600 บาท
- พาราฟิน 200 บาท - น้ำมันไพล 150 บาท - น้ำมันระกำ 240 บาท - วาสลีน 250 บาท - น้ำมันยูคาลิปตัส 170 บาท - การบูร 210 บาท - พิมเสน 230 บาท - เมนทอล 150 บาท 1.6 ขวดยาหม่อง ขนาด 30 กรัม เป็นเงิน250 บาท 1.7 ยาดมสมุนไพร 700 บาท เป็นเงิน 700บาท - เปลือกสมุลแว้ง 90 บาท - โกฐหัวบัว 100 บาท - โกฐสอ 150 บาท - กานพลู 70 บาท - ดอกจันทน์ 120 บาท - พริกไทยดำ 50 บาท - ว่านเปราะหอม 120 บาท 1.8 ขวดยาดมสมุนไพรขนาด 30 กรัมเป็นเงิน 250 บาท 1.9 ผ้าตะข่าย 55 บาท เป็นเงิน 55 บาท
งบประมาณ 5,160.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี
รวมงบประมาณโครงการ 13,560.00 บาท
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาหม่องและยาดมสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยด้วยตนเองได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ รหัส กปท. L2542
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ รหัส กปท. L2542
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................