กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮาเจ๊ะมะนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวรอฮีมะห์ บีรูพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.นางสาวฮานีซะห์ สาวนินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
4.นางสาวอามีเราะห์ สะอิ้ง แพทย์แผนไทย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 

50.00

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาไปในทางที่เสื่อมถอย อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จึงเกิดได้ง่าย และรุนแรงกว่าช่วงวัยหนุ่มสาว ๆ เช่นเดียวกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) ซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 50 มีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เริ่มจากมีอาการปวดบริเวณคอ บ่าไหล่ หลัง และเข่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนบนมีปัจจัยและสาเหตุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีการเสื่อมลง ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายลดความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ประกอบกับเซลล์ของร่างกายมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและสารเคมี (Helme & Gibson, 2001) อาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุอย่างยิ่ง อีกทั้งอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อลดอัตราการป่วย และเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะมีความถดถอยลงทั้งในด้านความแข็งแรงและการใช้งาน อาการเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุ มีงานวิจัยระบุว่าร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 72 ปีขึ้นไปได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเวียนศีรษะเรื้อรัง และยังมีแนวโน้มที่มีความชุกมากขึ้นตามอายุอีกด้วย
ปัจจุบันการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อมีรูปแบบการรักษาที่นิยม คือ การรักษาทางศัลยกรรมด้วยการผ่าตัด และการใช้ยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ แต่การรักษาผู้ป่วยแบบนี้แบบนี้มีอาการข้างเคียง เช่น การใช้ยาต้านการอักเสบมีผลก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการนำแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสานเข้ามาดูแลผู้ป่วยเพื่อลดปัญหาอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ในการดูแลแบบองค์รวม (ลดาวัลย์ และคณะ, 2558) โดยมีรูปแบบการรักษามากมายหลายวิธี แต่วิธีการที่มีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การนวด และการประคบ (ชาคริต และคณะ, 2557) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาโดยการนวดนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อันเนื่องมาจากการทำงานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี (เกศ, 2553) นอกจากนี้ยังมีการดูแลสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรและยาดมสมุนไพร โดยยาหม่องไพลมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้ทาถู นวดบริเวณที่มีอาการ ซึ่งสารสำคัญของสมุนไพรจะซึมเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อ ส่งเสริมให้การนวดมีผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น และการดมยาสมุนไพร ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ หรือลดอาการหน้ามืด โดยยาดมสมุนไพรมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีสารสำคัญ และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถสร้างความสดชื่นให้เราได้ดียามเหนื่อยล้า และช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ โดยเป็นการส่งเสริมการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ยาหม่องไพล และยาดมสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลผลิต เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ได้อีกด้วย ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยคงไว้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ โดยการผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 16/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิล
       -ขนาด 3 เมตร X 1 เมตร X 1 ชุด  เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เลือกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ คือ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดทำสื่อการสอน/แผ่นพับ

ชื่อกิจกรรม
2. จัดทำสื่อการสอน/แผ่นพับ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุดไวนิล ขนาด 160 X 60 cm 2 ชุด 450 บาท x 2 ชุด เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปเป็นองค์ความรู้ เผยแพร่แก่ชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 3 3. ให้ความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
3. ให้ความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน x 1 รุ่น เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 1 รุ่น เป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร 6 ชม. x 600 บาท x 1 รุ่น เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปเป็นองค์ความรู้ เผยแพร่แก่ชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 4 4. สาธิต/สอน วิธีการทำยาหม่องไพลและยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
4. สาธิต/สอน วิธีการทำยาหม่องไพลและยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์และวัสดุสมุนไพร 7,910 บาท 1.1 เครื่องชั่งดิจิตอล 1,500 บาท จำนวน2 เครื่อง เครื่องละ 750 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 1.2 บีกเกอร์ ขนาด 100 กรัม 2 ใบ x 65 บาท ขนาด 1,000 กรัม 2 ใบ x 110 บาทเป็นเงิน 350 บาท 1.3 แท่งแก้วคนสาร 1 x 90 บาท เป็นเงิน 90 บาท 1.4 โกร่งบดยา 1 ชุด 1 x 365 บาทเป็นเงิน 365 บาท 1.5 สมุนไพรทำยาหม่องเป็นเงิน 1,600 บาท

- พาราฟิน 200 บาท - น้ำมันไพล 150 บาท - น้ำมันระกำ 240 บาท - วาสลีน 250 บาท - น้ำมันยูคาลิปตัส 170 บาท - การบูร 210 บาท - พิมเสน 230 บาท - เมนทอล 150 บาท 1.6 ขวดยาหม่อง ขนาด 30 กรัม เป็นเงิน250 บาท 1.7 ยาดมสมุนไพร 700 บาท เป็นเงิน 700บาท - เปลือกสมุลแว้ง 90 บาท - โกฐหัวบัว 100 บาท - โกฐสอ 150 บาท - กานพลู 70 บาท - ดอกจันทน์ 120 บาท - พริกไทยดำ 50 บาท - ว่านเปราะหอม 120 บาท 1.8 ขวดยาดมสมุนไพรขนาด 30 กรัมเป็นเงิน 250 บาท 1.9 ผ้าตะข่าย 55 บาท เป็นเงิน 55 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้เกิดการใช้สมุนไพรที่หลากหลายในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาหม่องและยาดมสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยด้วยตนเองได้
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร


>