โครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L2542-2568 - 01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2568 - 16 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,560.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาไปในทางที่เสื่อมถอย อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จึงเกิดได้ง่าย และรุนแรงกว่าช่วงวัยหนุ่มสาว ๆ เช่นเดียวกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) ซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 50 มีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เริ่มจากมีอาการปวดบริเวณคอ บ่าไหล่ หลัง และเข่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนบนมีปัจจัยและสาเหตุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีการเสื่อมลง ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายลดความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ประกอบกับเซลล์ของร่างกายมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและสารเคมี (Helme & Gibson, 2001) อาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุอย่างยิ่ง อีกทั้งอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อลดอัตราการป่วย และเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะมีความถดถอยลงทั้งในด้านความแข็งแรงและการใช้งาน อาการเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุ มีงานวิจัยระบุว่าร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 72 ปีขึ้นไปได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเวียนศีรษะเรื้อรัง และยังมีแนวโน้มที่มีความชุกมากขึ้นตามอายุอีกด้วย
ปัจจุบันการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อมีรูปแบบการรักษาที่นิยม คือ การรักษาทางศัลยกรรมด้วยการผ่าตัด และการใช้ยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ แต่การรักษาผู้ป่วยแบบนี้แบบนี้มีอาการข้างเคียง เช่น การใช้ยาต้านการอักเสบมีผลก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการนำแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสานเข้ามาดูแลผู้ป่วยเพื่อลดปัญหาอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ในการดูแลแบบองค์รวม (ลดาวัลย์ และคณะ, 2558) โดยมีรูปแบบการรักษามากมายหลายวิธี แต่วิธีการที่มีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การนวด และการประคบ (ชาคริต และคณะ, 2557) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาโดยการนวดนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อันเนื่องมาจากการทำงานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี (เกศ, 2553) นอกจากนี้ยังมีการดูแลสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรและยาดมสมุนไพร โดยยาหม่องไพลมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้ทาถู นวดบริเวณที่มีอาการ ซึ่งสารสำคัญของสมุนไพรจะซึมเข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อ ส่งเสริมให้การนวดมีผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น และการดมยาสมุนไพร ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ หรือลดอาการหน้ามืด โดยยาดมสมุนไพรมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีสารสำคัญ และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถสร้างความสดชื่นให้เราได้ดียามเหนื่อยล้า และช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ โดยเป็นการส่งเสริมการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ยาหม่องไพล และยาดมสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลผลิต เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ได้อีกด้วย ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยคงไว้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ โดยการผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
50.00 | 50.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
16 พ.ค. 68 | 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 900.00 | ✔ | 900.00 | |
16 พ.ค. 68 | 2. จัดทำสื่อการสอน/แผ่นพับ | 0 | 900.00 | ✔ | 900.00 | |
16 พ.ค. 68 | 3. ให้ความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร | 0 | 6,600.00 | ✔ | 6,600.00 | |
16 พ.ค. 68 | 4. สาธิต/สอน วิธีการทำยาหม่องไพลและยาดมสมุนไพร | 0 | 5,160.00 | ✔ | 5,160.00 | |
รวม | 0 | 13,560.00 | 4 | 13,560.00 |
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาหม่องและยาดมสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยด้วยตนเองได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 00:00 น.