กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด

ตำบลเกาะใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพหนึ่งทีส่งผลต่อความแข็งแรง และความฉลาดในเด็กวัยเรียน

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เป็นภาวะที่จะต้องหาสาเหตุ เพื่อรับการรักษาแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบมากที่สุดได้แก่ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบทีสำคัญในการทำงานภายในเซลล์ต่างๆเด็กที่ขาดธาตุเหล็กจนถึงระดับที่ทำให้มีภาวะโลหิตจางจะเหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมได้เชื่องช้ากว่าเด็กปกติ มีผลต่อความสามารถในการเรียนการคิดคำนวณ จากการสำรวจโภชนาการของเด็กไทย พ.ศ.2553 - 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) พบว่าภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี สูงถึงร้อยละ 46.7 และพบมากกว่ากลุ่มอายุ 9-11 ปี ร้อยละ 25.4 และอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 15.7 ตามลำดับ โดยพบอัตราความชุกของภาวะการขาดธาตุเหล็กในเพศหญิงเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย ทำให้ในปี พ.ศ.2556 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างจริงจัง โดยใช้มาตรการเสริมธาตุเหล็กในอาหารการให้โภชนศึกษา และการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละครั้งแก่เด็กกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิปนะโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาชน และหญิงวัยเจริญพันธุ์ดังนั้นเพื่อลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยและวัยเรียนจำเป็นต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จากตัวพ่อแม่เอง เครือญาติ ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งการมีนโยบายที่สนับสนุน แนวทางการปฏิบัติ การเข้าถึงบริการ และการกำกับติดตามที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนที่มีประสิทธิภาพ อันจะทำให้ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนลดลง และส่งผลต่อการสนับสนุนให้เด็กวัยเรียน มี IQ/EQ ดี สุขภาพแข็งแรง และฉลาดอย่างมีคุณภาพต่อไปจากข้อมูล ปี 2567 พบว่า เด็กอายุ 6-12 เดือน ในเขต รพ.สต.บ้านแหลมหาด ได้รับการเจาะเลือดตรวจ HCT./CBC จำนวน 18 ราย พบว่ามีภาวะโลหิตจางจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.78 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

0.50

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80

0.50 1.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100

0.50 1.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

หลังได้รับการอบรมครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.50 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรูครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรูครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ความรู้เรื่องผลของภาวะโลหิตจางส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การป้องกันภาวะโลหิตจาง    ค่าอาหารว่าง 25 บาท64 คน  เป็นเงิน 1,600 บาท    ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท64 คน  เป็นเงิน 3,840  บาท    ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200  บาท    ค่าปากกา 64 ด้าม*5บาท   เป็นเงิน 320 บาท    ค่าเอกสาร/แผ่นพับ  เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7260.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแผ่นตรวจ (strip Hct) จำนวน 2 ขวด*3000 เป็นเงิน  6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท*60 คน  เป็นเงิน  1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก
2.สามารถค้นหาภาวะโลหิตจางในเด็กและได้รับการแก้ไขได้


>