กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก
รหัสโครงการ 68-L5163-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 14,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารีรัตน์ ชูโชติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพหนึ่งทีส่งผลต่อความแข็งแรง และความฉลาดในเด็กวัยเรียน

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เป็นภาวะที่จะต้องหาสาเหตุ เพื่อรับการรักษาแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบมากที่สุดได้แก่ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบทีสำคัญในการทำงานภายในเซลล์ต่างๆเด็กที่ขาดธาตุเหล็กจนถึงระดับที่ทำให้มีภาวะโลหิตจางจะเหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมได้เชื่องช้ากว่าเด็กปกติ มีผลต่อความสามารถในการเรียนการคิดคำนวณ จากการสำรวจโภชนาการของเด็กไทย พ.ศ.2553 - 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) พบว่าภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี สูงถึงร้อยละ 46.7 และพบมากกว่ากลุ่มอายุ 9-11 ปี ร้อยละ 25.4 และอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 15.7 ตามลำดับ โดยพบอัตราความชุกของภาวะการขาดธาตุเหล็กในเพศหญิงเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย ทำให้ในปี พ.ศ.2556 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างจริงจัง โดยใช้มาตรการเสริมธาตุเหล็กในอาหารการให้โภชนศึกษา และการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละครั้งแก่เด็กกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิปนะโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาชน และหญิงวัยเจริญพันธุ์ดังนั้นเพื่อลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยและวัยเรียนจำเป็นต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จากตัวพ่อแม่เอง เครือญาติ ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งการมีนโยบายที่สนับสนุน แนวทางการปฏิบัติ การเข้าถึงบริการ และการกำกับติดตามที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนที่มีประสิทธิภาพ อันจะทำให้ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนลดลง และส่งผลต่อการสนับสนุนให้เด็กวัยเรียน มี IQ/EQ ดี สุขภาพแข็งแรง และฉลาดอย่างมีคุณภาพต่อไปจากข้อมูล ปี 2567 พบว่า เด็กอายุ 6-12 เดือน ในเขต รพ.สต.บ้านแหลมหาด ได้รับการเจาะเลือดตรวจ HCT./CBC จำนวน 18 ราย พบว่ามีภาวะโลหิตจางจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.78 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

0.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80

0.50 1.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100

0.50 1.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

หลังได้รับการอบรมครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.50 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมให้ความรูครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว 0 7,260.00 -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมคัดกรองภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct) 0 7,500.00 -
รวม 0 14,760.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก 2.สามารถค้นหาภาวะโลหิตจางในเด็กและได้รับการแก้ไขได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.