กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนไทยห่างไกล NCDs ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง

1. นางจีราภรณ์เหมริหนี
2. นายประคอง ขาวขำ
3. นายสมใจชูสุวรรณ์
4. นางสาวกาญจนาดำชื่น
5. นางสาวศิรินญานวนไหม

หมู่ที่ 3, 4 ตำบลสมหวัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลก ซึ่งรวมถึงโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็ง, โรคอ้วน และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ปัจจุบัน NCDs เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีการพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา โดยโรค NCDs ได้คร่าชีวิตประชากรโลกกว่า 70% ทุกปี และพบอัตราการเกิดโรค NCDs เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ไม่สุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดี การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงหลักของ NCDs คือ การมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาล และเกลือสูง การขาดการออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตที่มีความเครียด ประเทศไทยเผชิญกับปัญหา NCDs อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของประชากร รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมันสูง และการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิด NCDs คือ พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดี, การไม่ออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่, และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง รวมทั้งการส่งเสริมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี
ในปี 2565-2567 จังหวัดพัทลุง พบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1077.04 ,1290.02,1549.96 ต่อแสนประชากรพบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคเบาหวาน เท่ากับ 579.09 ,705.50,760.84 ต่อแสนประชากรและอำเภอกงหรา พบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1077.04 ,1290.02,1549.96 ต่อแสนประชากรพบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคเบาหวาน เท่ากับ 506.92 ,604.58,632.14 ต่อแสนประชากร( ข้อมูลจากระบบคลังโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง จังหวัดพัทลุง) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่ทำหน้าที่ด้านสุขภาพเบื้องต้นของประชาชน อยู่ใกล้ชิดประชาชนในชุมชนมากที่สุด ช่วยเหลือหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ตำบลสมหวัง ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการชีวิตดีวิถีใหม่ ห่างไกลโรคNCDs สำหรับประชาชนในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4 ตำบลสมหวัง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอุบัติการณ์ การเกิดโรค NCDs (โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง)

อุบัติการณ์ การเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ลดลง ร้อยละ 10

80.00 60.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน

Health Station ในหมู่บ้านมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

80.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 813
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนงานการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
วางแผนงานการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แยกประเภทกลุ่มเป้าหมายจากผลการตรวจคัดกรองโรค คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยเป็นโรค กลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุง และ กลุ่มมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 15 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 1.จัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงอายุ35 ปีขึ้นไป
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงจำนวน 813 คน ๆ ละ 1 มื้อๆละ 15 บาทเป็นเงิน 12195.- บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13195.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรรมในผู้ป่วยโรคNCD

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรรมในผู้ป่วยโรคNCD
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 จัดกิจกรรรมในผู้ป่วยโรคNCDs ที่รับยาประจำ ใน NCDs Remittion Clinic รพ.สต.บ้านหวัง ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนแบบครบวงจร 1 เจาะเลือดประจำปีผู้ป่วย เพื่อ ตรวจระดับไขมัน การทำงานของไต ตับ โรคเกาต์ ระดับน้ำตาลในเลือด
2 การตรวจคัดกรองช่องปาก ตรวจคัดกรอง ความเสี่ยง stroke CVD risk สุขภาพจิตและวัณโรคพร้อมจัดทำทะเบียน 3.ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในผู้ป่วยเบาหวานอย่างละเอียด 4.ติดตามภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้เครื่องวัดโซเดียมในอาหาร
5.ให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 140 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 3,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รับบริการซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก    วัดส่วนสูง ประมวลค่า BMI เจาะน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต และรับยาในคลินิกโรคเบาหวานทุกเดือน
  • จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคกับโรคเบาหวาน ทุกเดือน งบประมาณ
  • ค่าอาหารเช้าและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 25 คนๆละ 12 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 7,500.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคกับโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจไม่เกิน 20 ต่อแสนประชากร
2.อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ร้อยละ 10 ภายในระยะเวลา 5 ปี


>