โครงการคนไทยห่างไกล NCDs ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคนไทยห่างไกล NCDs ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568 - L3309 - 2 - 17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,195.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจีราภรณ์ เหมริหนี ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหวัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 3 และ 4 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 813 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลก ซึ่งรวมถึงโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็ง, โรคอ้วน และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ปัจจุบัน NCDs เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีการพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา โดยโรค NCDs ได้คร่าชีวิตประชากรโลกกว่า 70% ทุกปี และพบอัตราการเกิดโรค NCDs เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ไม่สุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดี การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงหลักของ NCDs คือ การมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาล และเกลือสูง การขาดการออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตที่มีความเครียด ประเทศไทยเผชิญกับปัญหา NCDs อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของประชากร รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมันสูง และการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิด NCDs คือ พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดี, การไม่ออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่, และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง รวมทั้งการส่งเสริมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี ในปี 2565-2567 จังหวัดพัทลุง พบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1077.04 ,1290.02,1549.96 ต่อแสนประชากรพบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคเบาหวาน เท่ากับ 579.09 ,705.50,760.84 ต่อแสนประชากรและอำเภอกงหรา พบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1077.04 ,1290.02,1549.96 ต่อแสนประชากรพบอัตราป่วยรายใหม่ ในโรคเบาหวาน เท่ากับ 506.92 ,604.58,632.14 ต่อแสนประชากร( ข้อมูลจากระบบคลังโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง จังหวัดพัทลุง) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่ทำหน้าที่ด้านสุขภาพเบื้องต้นของประชาชน อยู่ใกล้ชิดประชาชนในชุมชนมากที่สุด ช่วยเหลือหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ตำบลสมหวัง ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการชีวิตดีวิถีใหม่ ห่างไกลโรคNCDs สำหรับประชาชนในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4 ตำบลสมหวัง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอุบัติการณ์ การเกิดโรค NCDs (โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง) อุบัติการณ์ การเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ลดลง ร้อยละ 10 |
80.00 | 60.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน Health Station ในหมู่บ้านมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 |
80.00 | 60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอุบัติการณ์ การเกิดโรค NCDs (โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง) |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 - 15 ต.ค. 67 | วางแผนงานการดำเนินงาน | 0.00 | - | |||
15 ต.ค. 67 - 31 มี.ค. 68 | 1.จัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง | 13,195.00 | - | |||
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรรมในผู้ป่วยโรคNCD | 3,500.00 | - | |||
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานอย่างต่อเนื่อง | 7,500.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจไม่เกิน 20 ต่อแสนประชากร 2.อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ร้อยละ 10 ภายในระยะเวลา 5 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 00:00 น.