กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

1.นางสุกัลยา สอเหลบ
2.นางนิตยา หีมปอง
3.นางนัยนา มานะกล้า
4.นางสาวสุไลยา ชายเกตุ
5.นางสาวศิวัชญา จิโส๊ะ
6.นางสาวสุกัญญา เกาะกลาง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอนหมูที่ 1 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 2-5 ปี เป็นช่วงวัยที่สมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก นั่นคือ อาหาร เพราะอาหารทำให้ระบบในร่างกายเป็นปกติ การบริโภคอาหารที่ถูกหลักเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในทุกมื้อ นอกจากจะทำให้ร่างกายของเด็กแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดีอีกด้วย โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำทุกวัน จะส่งผลต่อสมองทำให้เด็กมีสมาธิ และมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี ในทางตรงข้ามหากเด็กบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน หรือได้รับอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ อาจเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆหรือทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ แต่เด็กในช่วงวัยนี้มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร เนื่องจากเด็กจะสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่า และยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในช่วงวัยนี้และให้เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ดี มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เจริญเติบโตสมวัย
ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน มีเด็กทั้งหมด จำนวน 51 คน และจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้านภาวะโภชนาการ และด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน พบว่ามีข้อมูลเด็กที่มีความเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการ ดังนี้
1) เด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมกับวัย จำนวน 10 คน โดยอ้างอิงข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลในระบบKiddiary School
2) เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย จำนวน 3 คน ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กบ้านนาทอน
2) เด็กที่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ไม่สม่ำเสมอ จำนวน๗ คน ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กบ้านนาทอน
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอนที่มีความเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการ มีจำนวนทั้งสิ้น 20 คน คิดเป็นร้อยละ 44.71 ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน ประจำปีงบประมาณ2568 ขึ้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านการเสริมสร้างโภชนาการที่ดีแก่เด็กปฐมวัยระหว่างผู้ปกครองเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนทุกวัน และส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตให้เหมาะสมกับวัย เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าของการรับประทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองที่มีความตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าของการรับประทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยและร่วมส่งเสริมการรับประทานอาหารมื้อเช้าที่มีประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัย

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกวัน

0.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินน้ำหนัก-ส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินน้ำหนัก-ส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำแบบสำรวจข้อมูลเด็กด้านภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กด้านภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -จัดทำแบบประเมินภาวะโภชนาการโภชนาการเด็ก -ชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอนทุกคน เพื่อประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนดำเนินการ
-คัดแยกรายชื่อเด็กออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ 1) กลุ่มเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมกับวัย 2) กลุ่มเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย 3) กลุ่มเด็กที่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ไม่สม่ำเสมอ -เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บ. -ลูกตุ้มเทียบน้ำหนัก น้ำหนัก 1,000 กรัม จำนวน 1 อัน
เป็นเงิน 800 บ. รวมเป็นเงิน 2,300 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 12 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับทราบข้อมูลเด็กด้านภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /มึข้อมูลด้านภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ความสำคัญและประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็กปฐมวัย และเรื่องการเลือกจัดอาหารเช้าให้กับเด็กที่เหมาะสมกับวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ความสำคัญและประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็กปฐมวัย และเรื่องการเลือกจัดอาหารเช้าให้กับเด็กที่เหมาะสมกับวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ความสำคัญและประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็กปฐมวัย และเรื่องการเลือกจัดอาหารเช้าให้กับเด็กที่เหมาะสมกับวัย - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย โดยเชิญพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก ที่มีภาวะเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรม โดยวิทยากรจาก รพ.สต เรื่อง ความสำคัญและประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็กปฐมวัย และเรื่องการเลือกจัดอาหารเช้าให้กับเด็กที่เหมาะสมกับวัย - ผู้ปกครองเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้อง แบ่งกลุ่มสาธิตการประกอบอาหารเช้าสำรับเด็กปฐมวัย - ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.50 เมตร X 2 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 450 บ. - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 2 ชม.ๆ ละ 300 บ. เป็นเงิน 600 บ. - ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ๆละ 30 บ. เป็นเงิน 600 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บ.เป็นเงิน 500 บ. รวมเป็นเงิน 2,150 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าของการรับประทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยและร่วมส่งเสริมการรับประทานอาหารมื้อเช้าที่มีประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น/เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2150.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอาหารมื้อเช้าของหนูและการติดตามภาวะโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารมื้อเช้าของหนูและการติดตามภาวะโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอาหารมื้อเช้าของหนูและติดตามภาวะโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -จัดทำอาหารเช้าให้กับเด็กมีความเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการ สำหรับการจัดอาหารเช้าใน 1 สัปดาห์(กรณีมีการปิดเรียนที่ไม่ทราบล่วงหน้า หรืออื่นๆ สามารถนำไปจัดในวันถัดไปที่เปิดทำการหรือสัปดาห์อื่น ๆ ได้จนครบตามจำนวนวันที่กำหนด) -จัดทำแบบบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็ก สำหรับครู/ผู้ดูแลเด็ก ใช้ประเมินเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมแปรผลและส่งผลแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทุกเดือน -ประเมินภาวะโภชนาการเด็กหลังดำเนินการ - ค่าอาหารเช้าสำหรับเด็กเล็กตามกลุ่มเป้าหมาย จำนวน20 คน ๆ ละ15 บ. เป็นเวลา 70วันเป็นเงิน 21,000 บ
รวมเป็นเงิน21,000บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 12 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำอาหารเช้าให้กับเด็กมีความเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการ ทุกวันทำการ/เด็กมีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองตระหนักถึงประโยชน์และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กมากขึ้น
2. เด็กทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่ประโยชน์ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับวัย
3. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย


>