2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ด้วยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันจะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ อาทิไฟไหมอาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน ล้วนสร้างความสูญเสียอย่างมากมาย ซึ่งเราอาจมองภัยพิบัติที่ห่างตัวเราแต่เราไม่มองภัยที่อยู่ใกล้ตัวเรา ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมช้ำๆ ที่ได้ใช้ร่างกายในการมอง ฟัง และเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ซึมซับข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้ง่าย หลักในการป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและเพิ่มการควบคุมดูแลให้มากขึ้น การสอนเด็ก ให้ป้องกันตนเอง และการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่ไม่ทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้สึกถูกบังคับ เช่นการคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้ว่าเมื่อขึ้นรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทันที เป้าหมายสูงสุดของการเรียนเรื่องความปลอดภัย คือทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการลงมือปฏิบัติ เด็กควรได้รับการเตรียมตัวให้รู้จักกับสถานการณ์ที่อันตรายเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เด็กต้องได้รับการสอนให้สังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎและข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กย่อมมีแนวโน้มในการป้องกันอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่นได้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองกั่ว เห็นว่าการส่งเสริมความปลอดภัยด้านร่างกายให้เด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือการประสบปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อไปในอนาคต เช่นความพิการ การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง จึงได้จัดโครงการอบรมซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองกั่ว จึงจัดกิจกรรมโครงการมีการซ้อมการหนีภัยที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นการใช้บันได อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน การป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ อันตรายจากไฟ การซ้อมดับเพลิง และการสื่อสารกับผู้ใหญ่ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ ความปลอดภัยในบ้าน ได้แก่การเก็บของเล่นและสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ การไม่จับ หรือสัมผัสยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง หรือสารพิษต่างๆ การระมัดระวังการใช้กรรไกร ของมีคม วิธีการใช้ของเล่นให้ปลอดภัย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กนักเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
2.เด็กนักเรียนและครูรู้จักการอพยพหนีไฟ
3.เด็กนักเรียนและครูมีความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย