โครงการส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเอง (กรณีเด็กติดในรถ จมน้ำ/การหนีภัย)
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเอง (กรณีเด็กติดในรถ จมน้ำ/การหนีภัย) |
รหัสโครงการ | 68-L5230-03-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองกั่ว |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,160.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปราณี หลีตระกูล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 6 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันจะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ อาทิไฟไหมอาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน ล้วนสร้างความสูญเสียอย่างมากมาย ซึ่งเราอาจมองภัยพิบัติที่ห่างตัวเราแต่เราไม่มองภัยที่อยู่ใกล้ตัวเรา ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมช้ำๆ ที่ได้ใช้ร่างกายในการมอง ฟัง และเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ซึมซับข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้ง่าย หลักในการป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและเพิ่มการควบคุมดูแลให้มากขึ้น การสอนเด็ก ให้ป้องกันตนเอง และการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่ไม่ทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้สึกถูกบังคับ เช่นการคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้ว่าเมื่อขึ้นรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทันที เป้าหมายสูงสุดของการเรียนเรื่องความปลอดภัย คือทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการลงมือปฏิบัติ เด็กควรได้รับการเตรียมตัวให้รู้จักกับสถานการณ์ที่อันตรายเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เด็กต้องได้รับการสอนให้สังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎและข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กย่อมมีแนวโน้มในการป้องกันอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่นได้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองกั่ว เห็นว่าการส่งเสริมความปลอดภัยด้านร่างกายให้เด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือการประสบปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อไปในอนาคต เช่นความพิการ การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง จึงได้จัดโครงการอบรมซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองกั่ว จึงจัดกิจกรรมโครงการมีการซ้อมการหนีภัยที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นการใช้บันได อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน การป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ อันตรายจากไฟ การซ้อมดับเพลิง และการสื่อสารกับผู้ใหญ่ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ ความปลอดภัยในบ้าน ได้แก่การเก็บของเล่นและสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ การไม่จับ หรือสัมผัสยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง หรือสารพิษต่างๆ การระมัดระวังการใช้กรรไกร ของมีคม วิธีการใช้ของเล่นให้ปลอดภัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กนักเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง เด็กนักเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง |
0.00 | |
2 | เพื่อฝึกซ้อมเด็กนักเรียนและครูในการอพยพหนีไฟ เด็กนักเรียนและครูรู้จักการอพยพหนีไฟ |
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กนักเรียนและครูมีความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย เด็กนักเรียนและครูมีความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,160.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ซ้อมเหตุการณ์สมมติเมื่อเกิดอัคคีภัย | 0 | 11,160.00 | - |
1.เด็กนักเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง 2.เด็กนักเรียนและครูรู้จักการอพยพหนีไฟ 3.เด็กนักเรียนและครูมีความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2568 00:00 น.