2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรืพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโรค จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหารโดยการรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว หากนักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจะสามารถดูแลตนเอง สามารถลดโอกาสการเกิดโรค
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย และพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ การสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่วัยเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการลดความเสี่ยงต่อโรค NCDs และเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน จากการประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบางแก้ว พบว่ามีนักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์น้อยลง และนักเรียนที่มีน้ำหนกเกนเกณฑ์ แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลบางแก้วได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน ห่างไกลโรค NCDs โดยการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ให้ความรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารและการควบคุมการรับประทานอาหาร มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน การติดตามกลุ่มนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และการตรวจสุขภาพ (โรคอ้วน) ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
2. มีต้นแบบนักเรียนที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
3. ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของนักเรียน
4. โรงเรียนลดความเสี่ยงของนักเรียนเป็นโรค NCDs
5. นักเรียนมีพฤฤติกรรมการรับประทานที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ