กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน ห่างไกลโรค NCDs
รหัสโครงการ 2568-L3331-03-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลบางแก้ว
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 18,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุมารถ เงินละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
3,975.00
2 จำนวนครัวเรือน
1,939.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรืพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโรค จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหารโดยการรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว หากนักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจะสามารถดูแลตนเอง สามารถลดโอกาสการเกิดโรค โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย และพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ การสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่วัยเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการลดความเสี่ยงต่อโรค NCDs และเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน จากการประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบางแก้ว พบว่ามีนักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์น้อยลง และนักเรียนที่มีน้ำหนกเกนเกณฑ์ แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลบางแก้วได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน ห่างไกลโรค NCDs โดยการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ให้ความรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารและการควบคุมการรับประทานอาหาร มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน การติดตามกลุ่มนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และการตรวจสุขภาพ (โรคอ้วน) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรค NCDs เพิ่มขึ้น

เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

190.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวัง ภาวะโภชนาการ

เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

190.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้นกเรียนมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

190.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรค NCDs เพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวัง ภาวะโภชนาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้นักเรียนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส 1 ฟ และ โรค NCDs 13,670.00 -
1 ม.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมออกกำลังกาย (HulaHoop) 5,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
  2. มีต้นแบบนักเรียนที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
  3. ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของนักเรียน
  4. โรงเรียนลดความเสี่ยงของนักเรียนเป็นโรค NCDs
  5. นักเรียนมีพฤฤติกรรมการรับประทานที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.