กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อย.น้อยสุขภาพดี เริ่มที่โรงเรียน ต.นาหม่อม พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม

1. นายวิทูร ชิตมณี
2. นางรุ่งฤดีนาราษฎร์
3. นางสาวอาทิตยาพิพัฒน์สุริยะ
4. นางสาวเกสรกูลเกื้อ
5. นางสาวสมิตานัน หน่อสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม โรงเรียนวัดนาหม่อม โรงเรียนบ้านควนจง โรงเรียนวัดทุ้งฆ้อ โรงเรียนธรรมโฆสิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อมได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้อย่างเห็นผล จึงได้จัดทำโครงการอย น้อยใส่ใจสุขภาพ 2568 โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียนอยน้อยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภค ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัวและชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้อย โดยการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ทั้งนี้ยังสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำอย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัว

นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างปลอดภัย ถูกต้อง ทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนและแกนนำครู พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน สามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้

นักเรียนอย. น้อยสามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้องร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อกระตุ้นให้โรงเรียนทุกแห่งมีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อยในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนได้ทำกิจกรรม อย.น้อยและได้รับรองการเป็นโรงเรียนอย. น้อยตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน

การจัดกิจกรรมอบรม และพัฒนาศักยภาพ จนได้รับการรับรองเป็นโรงเรียน อย.น้อย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 48
กลุ่มวัยทำงาน 4
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมและพัฒนาศักยภาพ

ชื่อกิจกรรม
การจัดอบรมและพัฒนาศักยภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร1 คนx 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 54 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาทเป็นเงิน 3,780 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7380.00

กิจกรรมที่ 2 การทดสอบการตรวจสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การทดสอบการตรวจสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบผลิตภัณพ์เครื่องสำอาง
    1. ชุดตรวจปรอทในเครื่องสำอาง 1 กล่อง กล่องละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    2. ชุดทดสอบกรดเรทิโนอิค(กรดวิตามินเอ) จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 1,050 บาทเป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าชุดทดสอบผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ 1 กล่อง กล่องละ 1,150 บาท เป็นเงิน1,150 บาท
  • ค่าชุดทดสอบอาหาร 5 อย่าง
  1. บอแรกซ์
  2. กรดซาลิซิลิค
  3. ฟอร์มาลิน
  4. โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(สารฟอกขาว)
  5. โพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุด ชุดละ 1,650 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท

- ค่าชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น(si2) พร้อมไม้ Swab จำนวน 1กล่อง กล่องละ 1,400 บาทเป็นเงิน1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6450.00

กิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนให้มีการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
การสนับสนุนให้มีการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าแบบทดสอบ ก่อน-หลัง การอบรม จำนวน 52 ชุด ชุดละ 3 บาท เป็นเงิน156 บาท
  • ค่าแผ่นพับใบความรู้ อย.น้อย จำนวน 52 ชุด ชุดละ 4 บาทเป็นเงิน208 บาท
  • ค่าเกียรติบัตร อย.น้อย จำนวน 52 ฉบับ ฉบับละ 8 บาท เป็นเงิน 416 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เช่น ดินสอ ปากกา กระดาษเป็นต้นเป็นเงิน 133 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1363.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,193.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างปลอดภัย ถูกต้อง ทั้งนี้สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
2. นักเรียน อย.น้อยสามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง
3. โรงเรียนในเขตตำบลนาหม่อมมีชมรม อย.น้อยและดำเนินการกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4. โรงเรียนได้ทำกิจกรรม อย.น้อยและได้รับรองการเป็นโรงเรียนอย. น้อยตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


>