กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนนกหว้า

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนนกหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นเด็กก่อนวัยเรียนถูกนำมาฝากเลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อมีเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคและติดต่อสู่กันได้ง่ายในเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย
โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง เมื่อเกิดขึ้นต้องปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีค่าใชจ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลรักษาเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิด โรคมือ เท้า ปาก แล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต
จากข้อมูลดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนนกหว้าจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยภายในเขตพื้นที่ตำบลหารเทาขึ้น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและการป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจาย ให้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็กมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆ

1.ครูและผู้ปกครองเด็กเข้าใจและรู้วิธีป้องกันโรคติดต่อที่ถูกวิธี

0.00
2 เพื่อรณรงค์การป้องกันโรค ด้วยการล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย

2.ครูและผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่ายเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก รู้จักวิธีในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ

3.ครูและผู้ปกครองรู้จักวิธีในการดูแลเด็กป่วยเป็นโรคติดต่อมากขึ้น

0.00
4 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองรู้จักวิธีในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ

4.ครูและผู้ปกครองรู้จักวิธีป้องกันเวลาเด็กป่วยเป็นโรคติดต่อ

0.00
5 เพื่อเผยแพร่คำแนะนำ การล้างมือและการรักษาสุขอนามัย

5.ครูและผู้ปกครองได้แนะนำเด็กล้างมือที่ถูกวิธี

0.00
6 เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุม และลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก

6.ลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมกำหนดวันอบรม จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน 36 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำหนดวันอบรม จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน 36 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารในการประกอบการอบรม เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิทยากรจากสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิทยากรจากสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิทยากรจากสาธารณสุข
-ผู้ปกครอง/นักเรียน
-ครู/ผู้บริหาร
-เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
งบประมาณ
-ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร เป็นเงิน 400 บาท
-ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 36 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2568 ถึง 6 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2680.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสาธิตการล้างมือ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการล้างมือ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ผ้าเช็ดมือเด็ก จำนวน 36 ผืนๆละ 45 บาท เป็นเงิน 1,620 บาท
-น้ำยาล้างมือ+สบู่เหลว จำนวน 36 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
-น้ำยาทำความสะอาดบริเวณอาคาร จำนวน 4 ชุดๆละ 160 บาท เป็นเงิน 640 บาท
-ผงซักฟอก จำนวน 3 ถุงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กในสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนนกหว้า
1.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆที่จะเกิดกับเด็ก มือ เท้า ปาก โรคไข้หวัด โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง
2.รณรงค์การป้องกันโรค ด้วยการล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
3.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก และคณะผู้บริหารสถานศึกษา รู้จักวิธีในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ
4.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและผู้ปกครองเด็กเล็ก ทราบถึงวิธีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค
5.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก ได้รู้ถึงวิธีการการดูแลสุขภาพ เรื่องโรคติดต่อต่างๆ พฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขภาพอนามัย สภาพแวดล้อม
6.เป็นการป้องกัน ควบคุม และลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัด โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดงในสถานศึกษาและที่บ้าน


>