2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชน เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคไต และโรคหลอดเลือดสมอง อัตราการเกิดโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และความเครียดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน หากไม่มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และคุณภาพชีวิตของประชาชนลดลง
ดังนั้น การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถช่วยให้พบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทำให้สามารถควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ลดอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและลดภาระของระบบสาธารณสุขโดยรวม จากการดำเนินงานคัดกรองประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าข้าม ในปีงบประมาณ 2567 การคัดกรองโรคความดันโลหิต จำนวน 382 ราย พบว่ามีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) พบปกติจำนวน 273 รายอยู่ในกลุ่มเสี่ยง (SBP = 120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) จำนวน 66 ราย อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย (SBP >= 140 mmHg. หรือ DBP >= 90 mmHg.) จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อย 72.79 , 17.65 , และ 9.36 ราย ตามลำดับ และจากการคัดกรองเบาหวาน จำนวน 437ราย มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) พบปกติจำนวน 328 ราย อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (100 - 125 mg/dl.) จำนวน 80 ราย อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย (>= 126 mg/dl.) จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.23, 19.32, และ 0.97 ตามลำดับ
จากที่กล่าวมา รพ.สต.บ้านท่าข้าม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงและโอกาสในการเกิดโรค จึงได้จัดทำการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ได้ตระหนักถึงสุขภาวะสุขภาพของตนเอง จากการมาตรวจสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดรอบเอว รวมถึงการเจาะน้ำตาลที่ปลายนิ้ว ฯลฯ เพื่อคัดกรอง แบ่งกลุ่มทางภาวะสุขภาพ และจัดบริการให้ตามความเหมาะสม เช่น การส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยในกลุ่มสงสัยป่วย การจัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการเกิดโรครายใหม่ๆ จากกลุ่มเสี่ยง โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักถึงความเสี่ยงของโรค รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง เพื่อลดการเกิดโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/11/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและไม่เกิดโรคโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและมีสุขภาพดีอัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง