กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานีรักสุขภาพ ห่างไกลโรค NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกก็มีมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต (Life style) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคนำไปสู่การเกิดโรคอื่นๆ อีกหลายๆโรค และนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จึงจะสามารถป้องกันโรคได้
โดยในทุกๆ ปี ที่ผ่านทีมสุขภาพ พบว่าได้ลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน และพบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวพบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินคาร์โบไฮเดรตและไขมันเยอะเกิน สูบบุหรี่จัด ภาวะเครียด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ก็คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็มัก จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้ง ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มแฝง ถ้าไม่ได้รับการดูแล/รักษาอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้ในอนาคต เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานระยะแรกๆ ส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง
ตำบลบานามีประชากรทั้งหมด 21,934 คน ผู้สูงอายุ 2,619 คน เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 30 สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และความขาดความตระหนักในการตรวจสุขภาพ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอและไม่พบแพทย์ตามนัด ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบานา ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการคัดกรอง NCD เชิงรุกเพื่อสุขภาพที่ดีของชาวบานา” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 100 ได้รับความรู้และคำแนะนำสุขภาพรายบุคคล

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังเชิงรุก และได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้นและได้รับใบส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่องสำหรับกลุ่มเสีียง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 330
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองและติดตามโรคเรื้อรังเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและติดตามโรคเรื้อรังเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้น

2.ติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบื้องต้น

3.ให้ความรู้และคำแนะนำการดูแลสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรังรายบุคคล

  • ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่คัดกรอง จำนวน 5 คน x 120 บาท x 11 ครั้ง เป็นเงิน 6,600 บาท

  • แผ่นพับการดูแลสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรัง จำนวน 350 แผ่น x 25 บาท เป็นเงิน 8,750 บาท

  • ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย x 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มแก่ผู้รับการคัดกรอง (เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลตก) จำนวน 330 คน x 35 บาท เป็นเงิน 11,550 บาท

  • วัสดุอุปกรณ์ (แนบท้าย) เป็นเงิน 9,415 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37065.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการรักษา

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ออกใบส่งต่อให้แก่ผู้เข้าร่วมคัดกรองที่มีภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรัง ให้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานาหรือโรงพยาบาลปัตตานี

  • รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรัง ส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา เพื่อร่วมติดตามให้เข้ารับการรักษาต่อไป

  • รวบรวมชื่อผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่มีผลการคัดกรองต้องเฝ้าระวังส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 9 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,065.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคความดัน เบาหวานและได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น


>