กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสถานีรักสุขภาพ ห่างไกลโรค NCDs
รหัสโครงการ 68-L3013-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2568
งบประมาณ 37,065.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 330 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกก็มีมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต (Life style) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคนำไปสู่การเกิดโรคอื่นๆ อีกหลายๆโรค และนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จึงจะสามารถป้องกันโรคได้ โดยในทุกๆ ปี ที่ผ่านทีมสุขภาพ พบว่าได้ลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน และพบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวพบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินคาร์โบไฮเดรตและไขมันเยอะเกิน สูบบุหรี่จัด ภาวะเครียด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ก็คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็มัก จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้ง ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มแฝง ถ้าไม่ได้รับการดูแล/รักษาอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้ในอนาคต เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานระยะแรกๆ ส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง ตำบลบานามีประชากรทั้งหมด 21,934 คน ผู้สูงอายุ 2,619 คน เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 30 สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และความขาดความตระหนักในการตรวจสุขภาพ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอและไม่พบแพทย์ตามนัด ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบานา ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการคัดกรอง NCD เชิงรุกเพื่อสุขภาพที่ดีของชาวบานา” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 100 ได้รับความรู้และคำแนะนำสุขภาพรายบุคคล

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังเชิงรุก และได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้นและได้รับใบส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่องสำหรับกลุ่มเสีียง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 68
1 คัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้น(21 เม.ย. 2568-30 เม.ย. 2568) 27,650.00  
2 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการรักษา(21 เม.ย. 2568-9 พ.ค. 2568) 0.00  
รวม 27,650.00
1 คัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 385 27,650.00 12 27,650.00
11 - 30 เม.ย. 68 ให้ความรู้และคำแนะนำการดูแลสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรังรายบุคคล 330 21,050.00 21,050.00
11 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 1 5 600.00 600.00
17 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2 5 600.00 600.00
18 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 3 5 600.00 600.00
21 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 4 5 600.00 600.00
22 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 5 5 600.00 600.00
23 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 6 5 600.00 600.00
24 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 7 5 600.00 600.00
25 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 8 5 600.00 600.00
28 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 9 5 600.00 600.00
29 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 10 5 600.00 600.00
30 เม.ย. 68 คัดกรองโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 11 5 600.00 600.00
2 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการรักษา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
21 เม.ย. 68 - 9 พ.ค. 68 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการรักษา 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคความดัน เบาหวานและได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2568 00:00 น.