2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์
สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมี กลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้แก่การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุ มารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสมภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และการพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ตลอดจนการดูแล ตนเองและลูกในระหว่างตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก กระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ คำปรึกษา และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ติดตามการฝากครรภ์และการดูแลก่อนคลอดให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ บุคคลในครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดถูกต้องเหมาะสมในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2. หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
4. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด
ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
5. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ
6. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลงจากเดิม ขณะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด