โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์มารดาและเด็กหลังคลอดเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์มารดาและเด็กหลังคลอดเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2476-1-007 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 26,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฟักรีย๊ะ ตาพา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.171361,101.701781place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์
สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมี กลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้แก่การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุ มารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสมภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และการพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ตลอดจนการดูแล ตนเองและลูกในระหว่างตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก กระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ คำปรึกษา และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ติดตามการฝากครรภ์และการดูแลก่อนคลอดให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ บุคคลในครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดถูกต้องเหมาะสมในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) ร้อยละ 80หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) |
60.00 | 60.00 |
2 | หญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง |
0.00 | 0.00 |
3 | หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ |
60.00 | 60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาและเด็กหลังคลอดหมู่ที่ 1- 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ | 180.00 | 26,800.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
- หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ
- หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลงจากเดิม ขณะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 00:00 น.